fbpx
Digital Learning Classroom
PAการปฏิบัติงาน ศน.วิทยะฐานะศึกษานิเทศก์

ศึกษานิเทศก์ ทำ ว11/2564 (PA) อย่างไร

แชร์เรื่องนี้

ศึกษานิเทศก์ ทำ ว11/2564 (PA) อย่างไร
PA Live Talk : แบ่งปันไอเดีย สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA หัวข้อ “ศึกษานิเทศก์ ทำ PA อย่างไร”

สามารถสรุปให้ทุกท่านเป็นแนวทางการขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ว 11/2564 สิ่งที่ควรทราบคือ ะต้องเตรียม 3 ด้าน คือ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษากลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ

วิธีการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษากลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา

1) รายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษาตามโครงการ หรือกิจกรรมในแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษา ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งผู้ขอได้พัฒนาขึ้น และนำไปใช้ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษาจริง ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ หรือดำรงวิทยฐานะ แล้วแต่กรณี

2) การนำเสนอการพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษาตามโครงการหรือกิจกรรมในแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาที่เสนอในข้อ 1) โดยแสดงให้เห็นถึง สภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจ ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ ที่ขอรับการประเมิน และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรม ซึ่งสะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษาของผู้รับการนิเทศ หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนทั้งนี้ ให้นำเสนอเป็นไฟล์วีดิทัศน์ตามรูปแบบที่ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์

___

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

พิจารณาจากผลงาน หรือการปฏิบัติของผู้รับการนิเทศที่สะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้ หรือการจัดการศึกษา หรือผู้ลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือมีการพัฒนามากขึ้นและส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนที่เสนอไว้ในด้านที่ 1 โดยให้นำเสนอเป็นไฟล์วีดิทัศน์ตามรูปแบบที่ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์

___

แนวทางสำหรับการเขียนรายงานการวิจัยตามแบบประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ

1. คุณภาพของผลงานทาง วิชาการ (50)

1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (20)

1.2 ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะที่แสดงให้เห็นถึงการคิดค้น ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมการนิเทศการศึกษา (15)

1.3 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (10)

1.4 การจัดทำการพิมพ์ และรูปเล่ม (5)

2. ประโยชน์ของผลงานทาง วิชาการ (50)

2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครูบุคลากรทางการศึกษาการจัดการศึกษาหน่วยงานการศึกษา และชุมชน (25)

2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทาง วิชาการการพัฒนาและปรับเปลี่ยนนวัตกรรม การนิเทศการศึกษา และเป็นแบบอย่างที่ดี (25)

แผนผังความเชื่อมโยงวิทยฐานะด้านที่ 1 ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ว9 ว10 ว11

แผนผังความเชื่อมโยงวิทยฐานะด้านที่ 1 ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ว9 ว10 ว11

แผนผังความเชื่อมโยงวิทยฐานะด้านที่ 2 ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ว9 ว10 ว11

แผนผังความเชื่อมโยงวิทยฐานะด้านที่ 2 ในการขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ว9 ว10 ว11

แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ว 9/2564

แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ว 9/2564

รูปแบบการจัดทำไฟล์วีดิทัศน์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ว15/2565

1. ไฟล์วีดิทัศน์พัฒนาการนิทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษาหรือพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษากำหนดให้มีรูปแบบการจัดทำและคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1.1 เป็นไฟล์วีดิทัศน์ที่ศึกษานิเทศกได้จัดทำขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาแล้ว โดยให้

    • นำเสนอกระบวนการคิด
    • รูปแบบ
    • การใช้กลยุทธ์
    • สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา

ในการดำเนินการตามแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาให้บรรลุผลและประสบผลสำเร็จแสดงให้เห็นถึง

    • ประเด็นปัญหา
    • หรือประเด็นการพัฒนา
    • การแก้ปัญหาของผู้รับการนิเทศ

ทั้งนี้ วีดิทัศน์ที่นำเสนอต้อง

    • สะท้อนระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน
    • สมรรถนะของศึกษานิเทศก์
    • แรงบันดาลใจ
    • กรอบแนวคิด
    • ปรัชญาในการกำหนดวิสัยทัศน์การนิเทศการศึกษา
    • การออกแบบกลยุทธ์การนิเทศ
    • การทำงานตามหลักธรรมาภิบาล
    • การจัดการตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
    • การสร้างการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน ครูและชุมชน
    • การปฏิบัติที่ดีจากการนิเทศการศึกษา
    • การประเมินและปรับปรุงการนิเทศ
    • การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

1.2 การถ่ายทำ และการนำเสนอไฟล์วีดิทัศน์การพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี
ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษากำหนดให้มีรูปแบบและลักษณะสำคัญทางเทคนิค ดังนี้

1) รูปแบบการถ่ายทำไฟล์วีดิทัศน์

      • เป็นการบันทึก ณ สถานศึกษาที่ปฏิบัติงานจริง โดยฉากหลังจะต้องไม่มีบุคคลอื่นใดมาร่วมนำเสนอ
      • ในการนำเสนออาจใช้สื่อช่วยในลักษณะของภาพนิ่ง ข้อความ สัญลักษณ์ ภาพเคลื่อนไหว และอาจมีการ สอดแทรก (Insert ภาพ หรือนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint ด้วยก็ได้
      • โดยการนำเสนอให้ใช้การพูด หรือนำเสนอเป็นภาษาไทยด้วยตนเองเท่านั้น
      • การถ่ายทำให้ใช้กล้องถ่ายทำแบบตัวเดียว (Single video camera)
      • อาจมีผู้ช่วยในการบันทึกได้ ไม่มีส่วนนำใด ๆ ของไฟล์วีดิทัศน์ (No Title)
      • ไม่มีดนตรีประกอบหรือสอดแทรก
      • ไม่มีการหยุดการถ่ายทำ (One – Take recording)
      • ไม่มีการตัดต่อ (Un – Editing)
      • ไม่มีการแต่งเติมภาพ (No effect) ด้วยเทคนิคหรือวิธีการใด ๆ
      • และต้องไม่ใช้เทคนิคใด ๆ ในการถ่ายทำทั้งสิ้น

2) ลักษณะสำคัญทางเทคนิคของไฟล์วีดิทัศน์

(1) ความละเอียดของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องมีภาพและเสียงที่ชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถประเมินได้ตามสภาพการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง

(2) ประเภทของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องเป็นไฟล์ mp4 (กรณีไม่สามารถบันทึกเป็นไฟล์ mp4 ได้ให้สามารถแปลงไฟล์อื่นเป็นไฟล์ mp4 ได้ โดยไม่ถือเป็นการตัดต่อ)

(3) ความยาวของไฟล์วีดิทัศน์ ไม่เกิน 15 นาที

ทั้งนี้ ให้ส่งไฟล์วีดิทัศน์

  • การพัฒนาการนิเทศการศึกษา
  • กลยุทธ์
  • สื่อนวัตกรรม
  • หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา
  • หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
  • หรือหน่วยงานการศึกษา จำนวน 1 ไฟล์ เท่านั้น

โดยมีร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งแสดงผลลัพธ์ (Outcomes) จากการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา อย่างเป็นรูปธรรม

2.2 การถ่ายทำไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษากำหนดให้มีรูปแบบ เนื้อหา และลักษณะสำคัญทางเทคนิค ดังนี้

1) รูปแบบและเนื้อหาของไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอ

      • ผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา
      • ศึกษานิเทศก์เป็นผู้นำเสนอแบบปรากฏตัวและบรรยายด้วยตนเองเท่านั้น
      • โดยการนำเสนอให้เป็นลักษณะการอธิบายการปฏิบัติงานของตนเองที่สะท้อนผลลัพธ์ของการนิเทศทางการศึกษาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและภาพรวมของสถานศึกษา
      • อาจนำเสนอร่องรอยชิ้นงาน/ผลงานที่เป็นผลลัพธ์
      • ผลกระทบจากการนิเทศการศึกษาที่มีพัฒนาการสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

ซึ่งผลงานของศึกษานิเทศก์ อาจมีได้หลากหลายรูปแบบ และควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาการนิเทศการศึกษาผลงานควรจะนำเสนอให้เห็นในส่วนที่ประสบความสำเร็จ และอาจนำเสนอในส่วนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จด้วย

ทั้งนี้ ศึกษานิเทศก์จะต้อง

  • รับผิดชอบและตระหนักถึงจรรยาบรรณ์ในการนำเสนอทุกกรณี
  • และต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  • ระหว่างการบรรยายให้มีการสอดแทรก (Insert) ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวได้
  • ต้องไม่มีส่วนนำ (Tittle)
  • ไม่มีดนตรีประกอบ
  • ไม่มีเสียงพิเศษที่สร้างขึ้น (No sound effect)
  • ไม่มีการช้อนตัวอักษรระหว่างการนำเสนอแต่อาจใช้การนำเสนอผ่านโปรแกรมการนำเสนอได้ ได้แก่ PowerPoint, Keynote, Google Slides หรืออื่น ๆ

2) ลักษณะสำคัญทางเทคนิคของไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

(1) ความละเอียดของไฟล์วีดิทัศน์

      • ต้องมีภาพและเสียงที่ชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถประเมินได้ตามสภาพการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง
      • โดยสามารถตัดต่อได้
      • และสามารถใส่คำบรรยายด้านล่างของวีดิทัศน์ได้

(2) ประเภทของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องเป็นไฟล์ mp4 (กรณีไม่สามารถบันทึกเป็นไฟล์ mp4ได้ให้สามารถแปลงไฟล์อื่นเป็นไฟล์ mp4 ได้ โดยไม่ถือเป็นการตัดต่อ)

(3) ความยาวของวีดิทัศน์ ไม่เกิน 10 นาที

โดยให้ส่งไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา จำนวน 1 ไฟล์ เท่านั้น

แนวทางในการนำเสนอการจัดทำไฟล์วีดิทัศน์ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

ตัวชี้วัด ทักษะการวางแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษากลยทธุ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคนลยีในการนิเทศการศึกษาหรือการพัฒนาคุณภาพสานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา (ความยาวของไฟล์วีดิทัศน์ ไม่เกิน 15 นาที)

1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ (ประกันคุณภาพ/การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง)
2. คุณภาพของหลักสูตรและนักเรียน
3. การพัฒนาสมรรถนะ
4. การสอนงานระบบพี่เลี้ยง
5. การจัดการเรียนรู้/การแก้ปัญหาของผู้รับการนิเทศ
6. ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
7. ระดมทรัพยากร เครือข่าย และความร่วมมือ
8. ภาวะผู้นำแบบร่วมกัน

ด้านที่ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา (ความยาวของไฟล์วีดิทัศน์ ไม่เกิน 10 นาที)

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสานศึกษา

1. ผลงาน หรือผู้ลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์

2. ผลงาน หรือผู้ลการปฏิบัติส่งผลถึงการพัฒนาครูในสถานศึกษา

3. ผลงาน หรือผู้ลการปฏิบัติส่งผลถึงการพัฒนาผู้เรียน

4. ผลงาน หรือผู้ลการปฏิบัติส่งผลถึงคุณภาพสถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ

ศน.สมชื่อ กอปรคุณูปการ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ข้าราชการบำนาญ อดีตศึกษานิเทศก์ สพป.นนทบุรี เขต 2

และนายตะวัน แสงทอง (ครูโทนี่) รองผู้อำนวยการโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จังหวัดกาญจนบุรี

ชมย้อนหลังได้ที่นี่ครับ

https://fb.watch/r3TludI0kH/

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!