fbpx
Digital Learning Classroom
วิจัยวิทยะฐานะ

ตัวอย่างการออกแบบระเบียบวิธีวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

แชร์เรื่องนี้

ระเบียบวิธีวิจัยของการวิจัย รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ในการออกแบบการวิจัยครั้งนี้ผู้เขียนใช้ระเบียบวิธีวิจัย รูปแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในแบบแผนเชิงผสมผสานแบบสำรวจบุกเบิก (Explanatory Designs) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็นสองระยะต่อเนื่องกัน (Two-Phase mixed methods design)

ที่เริ่มต้นการศึกษาระยะแรกด้วยวิธีการเชิงคุณภาพแล้วศึกษาต่อเพื่ออธิบายด้วยวิธีการเชิงปริมาณ (Creswell, 2012) รูปแบบที่ใช้อธิบาย คือ

    • รูปแบบการพัฒนาสารบบ (Explanatory Design: taxonomy development model) มุ่งเน้นการศึกษาเฉพาะรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ (Exploratory Design: Taxonomy Development Model: QUAL emphasized)
    • และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพก่อนนำผลไปวิเคราะห์ต่อในเชิงปริมาณ (Creswell and Clark, 2007)
การวิจัยแบบผสมเชิงสำรวจ ประเภทโมเดลการพัฒนาสารบบ
ที่มา: (Creswell and Clark, 2007: 76; รัตนะ บัวสนธ์, 2556: 116)

ขั้นตอนดำเนินการวิจัย

ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ 1 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

  1.  ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เชิงคุณภาพ : QUAL)
  2. ผู้เชี่ยวชาญรับรองรูปแบบ (เชิงคุณภาพ : QUAL แปลผลเชิงคุณภาพ ไปเชิงปริมาณ (QUAL- qual)

จากระยะที่ 1 จะได้ร่างกรอบแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ จากการศึกษาทฤษฎี เอกสาร งานวิจัย และบทความที่เกี่ยวข้อง

จากนั้นจึงนำผลสรุปการสัมภาษณ์ในประเด็นต่าง ๆ มารวมกับผลการสังเคราะห์การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดองค์ประกอบสำหรับใช้ในการศึกษาสภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้

และดำเนินการตรวจสอบความตรงในการรับรองรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยผู้เชี่ยวชาญ

ทำให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนำมาประกอบการสร้างตัวชี้วัด และเครื่องมือสำหรับระยะ ที่ 2 ต่อไป

ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 

  1.  สร้างเครื่องมือเพื่อการทดลอง แปลผลเชิงคุณภาพไปเชิงปริมาณ (QUAL – qual)
  2. เก็บรวมรวมข้อมูล เชิงปริมาณ (quan)
  3. วิเคราะห์ ทดสอบ เชิงปริมาณ (quan)
  4. สรุปผลการวิเคราะห์ เชิงคุณภาพ (QUAL) + เชิงปริมาณ (quan)

ในระยะที่ 2 ผู้เขียนใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) (ทิศนา แขมณี, 2556: 195-218; รุจโรจน์ แก้วอุไร, ม.ป.ป.; วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2552) ร่วมกับการออกแบบเชิงระบบตามแนวคิด ADDIE Model (Allen, 2012; Kruse and Meyer, 2012) และรูปแบบระบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2558)

สำหรับออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ด้วยแบบแผนการทดลองแบบ (Pre Experimental Design) แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (The One-Shot Case Study) (พรรณี ลีกิจวัฒนะ, 2556) สำหรับขั้นตอนในการเก็บข้อมูลทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจ ซึ่งผู้รายงานดำเนินตามวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้

สรุปในภาพรวมของการวิจัย

ขั้นตอนดำเนินการวิจัย

แหล่งที่ท่านสามารถไปศึกษาต่อเพิ่มเติมครับ

Mixing quantitative and qualitative approaches Clark, V. L. P., Creswell, J. W., Green, D. O. N., & Shope, R. J. (2008). Mixing quantitative and qualitative approaches. Handbook of emergent methods363, 363-387.

http://repository.umpwr.ac.id:8080/bitstream/handle/123456789/187/Handbook%20of%20Emergent%20Methods.pdf?sequence=1&isAllowed=y#page=375

Clark, V. L. P., & Creswell, J. W. (2008). The mixed methods reader. Sage.

Mixed methods research Creswell, J. W., & Clark, V. P. (2011). Mixed methods research. SAGE Publications..

Educational research Creswell, J. W. (2012). Educational research. pearson.

Achieving integration in mixed methods designs—principles and practices Fetters, M. D., Curry, L. A., & Creswell, J. W. (2013). Achieving integration in mixed methods designs—principles and practices. Health services research48(6pt2), 2134-2156.

การออกแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน: เรียน รู้ เพื่อ การ พัฒนา ด้าน การ ศึกษา 1-8 รัตนะ บัวสนธ์. (2013). การออกแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน: เรียน รู้ เพื่อ การพัฒนาด้านการ ศึกษา 1-8. Ubon Ratchathani Journal of Research and Evaluation2(1), 1-8.

Creswell, J. W. (2014). A concise introduction to mixed methods research. SAGE publications.

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!