fbpx
Digital Learning Classroom
DPAวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยะฐานะศึกษานิเทศก์

รูปแบบการจัดทำไฟล์วิดีทัศน์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

แชร์เรื่องนี้

รูปแบบการจัดทำไฟล์วิดีทัศน์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

(ส่งพร้อมหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 15 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2565)

1. ไฟล์วีดิทัศน์พัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือพัฒนาคุณภาพลถานศึกษาหรือหน่วยงานการศึกษา

กำหนดให้มีรูปแบบการจัดทำและคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

1.1 เป็นไฟล์วีดิทัศน์ที่ศึกษานิเทศก็ใด้จัดทำขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาแล้ว โดยให้นำเสนอ

    • กระบวนการคิด
    • รูปแบบ
    • การใช้กลยุทธ์
    • สื่อ
    • นวัตกรรม
    • หรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา

ในการดำเนินการตามแผนพัฒนาการนิเทศการศึกษาให้บรรลุผลและประสบผลสำเร็จ

    • แสดงให้เห็นถึงประเด็นปัญหา
    • หรือประเด็นการพัฒนา
    • การแก้ปัญหาของผู้รับการนิเทศ

ทั้งนี้ วีดิทัศน์ที่นำเสนอต้อง

    • สะท้อนระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน
    • สมรรถนะของศึกษานิเทศก์
    • แรงบันดาลใจ
    • กรอบแนวคิด
    • ปรัชญาในการกำหนดวิสัยทัศน์กรนิเทศการศึกษา
    • การออกแบบกลยุทธ์
    • การนิเทศการทำงานตามหลักธรรมาภิบาล
    • การจัดการตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิซาชีพ
    • การสร้างการมีส่วนร่วมของครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ศึกษานิเทศก์ ผู้เชี่ยวชาญ ในการพัฒนาคุณภาพครูและชุมชน
    • การปฏิบัติที่ดีจากการนิเทศการศึกษา
    • การประเมินและปรับปรุงการนิเทศ
    • การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ

1.2 การถ่ายทำ และการนำเสนอไฟล์วีดิทัศน์ การพัฒนา การนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรม หรือเทคโนโลยี ในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา

กำหนดให้มีรูปแบบและลักษณะสำคัญทางเทคนิค ดังนี้

1) รูปแบบการถ่ายทำไฟส์วีดิทัศน์

      • เป็นการบันทึก ณ สถานศึกษาที่ปฏิบัติงานจริง โดยฉากหลังจะต้องไม่มีบุคคลอื่นใดมาร่วมนำเสนอ
      • ในการนำเสนออาจใช้สื่อช่วยในลักษณะของ
        • ภาพนิ่ง
        • ข้อความสัญลักษณ์
        • ภาพเคลื่อนไหว
        • และอาจมีการสอดแทรก (Insert) ภาพ
        • หรือนำเสนอในรูปแบบ PowerPoint ด้วยก็ได้
      • โดยการนำเสนอให้ใช้การพูด หรือนำเสนอเป็นภาษาไทยด้วยตนเองเท่านั้น
      • การถ่ายทำให้ไช้กล้องถ่ายทำแบบตัวเดียว (Single video camera)
      • อาจมีผู้ช่วยในการบันทึกได้
      • ไม่มีส่วนนำใด ๆ ของไฟล์วีดิทัศน์ (No Title)
      • ไม่มีคนตรีประกอบ หรือสอดแหรก
      • ไม่มีการหยุดการถ่ายทำ (One – Take recording)
      • ไม่มีการตัดต่อ (Un – Editing)
      • ไม่มีการแต่งเติมภาพ (No effect) ด้วยเทคนิคหรือวิธีการใด ๆ
      • และต้องไม่ใช้เทคนิคใด ๆ ในการถ่ายทำทั้งสิ้น

2) ลักษณะสำคัญทางเทคนิคของไฟล์วีดิทัศน์

(1) ความละเอียดของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องมีภาพ และเสียงที่ชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถประเมินได้ตามสภาพการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง

(2) ประเภทของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องเป็นไฟล์ mp4 (กรณีไม่สามารถบันทึกเป็นไฟล์ mp4 ได้ให้สามารถแปลงไฟล์อื่นเป็นไฟล์ mp4 ได้ โดยไม่ถือเป็นการตัดต่อ)

(3) ความยาวของไฟล์วีดิทัศน์ ไม่เกิน 15 นาที

ทั้งนี้ ให้ส่งไฟล์วีดิทัศน์การพัฒนาการนิเทศการศึกษา กลยุทธ์ สื่อ นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในการนิเทศการศึกษา หรือการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา หรือหน่วยงานการศึกษา จำนวน 1 ไฟล์ เท่านั้น

2. ไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

2.1 เป็นไฟล์วิดิทัศน์ที่แสดงไห้เห็นถึง

    • ผลงาน หรือผลการปฏิบัติของผู้รับการนิเทศที่สะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนรู้
    • หรือการจัดการศึกษา
    • หรือผลการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
    • หรือหน่วยงานการศึกษา

ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

หรือมีการพัฒนามากขึ้น

หรือเกิดนวัตกรรมการนิเทศการศึกษาที่เป็นแบบอย่างที่ดี (Best practice) 

โดยมีร่องรอยหลักฐานเชิงประจักษ์ซึ่งแสดงผลลัพธ์ (Outcomes) จากการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ที่ส่งผลต่อ

    • คุณภาพผู้เรียน
    • ครู
    • และสถานศึกษา
    • หรือหน่วยงานการศึกษา อย่างเป็นรูปธรรม

2.2 การถ่ายทำไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

กำหนดให้มีรูปแบบ เนื้อหา และลักษณะสำคัญทางเทคนิค ดังนี้

1) รูปแบบและเนื้อหาของไฟวีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษาศึกษานิเทศก์เป็นผู้นำเสนอแบบปรากฏตัวและบรรยายตัวยตนเองเท่านั้น โดยการนำเสนอให้เป็นลักษณะ

    • การอธิบายการปฏิบัติงานของตนเองที่สะท้อนผลลัพธ์ของการนิเทศทางการศึกษาที่เกิดขึ้นกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชนและภาพรวมของสถานศึกษา
    • อาจนำเสนอร่องรอยชิ้นงาน/ผลงานที่เป็นผลลัพธ์
    • ผลกระทบจากการนิเทศการศึกษาที่มีพัฒนาการสอดคล้องกับเป้าหมายในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา ซึ่งผลงานของศึกษานิเทศก์
    • อาจมีได้หลากหลายรูปแบบ และควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาการนิเทศการศึกษา
    • ผลงานควรจะนำเสนอให้เห็นในส่วนที่ประสบความสำเร็จ
    • และอาจนำเสนอในส่วนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จด้วย

ทั้งนี้ ศึกษานิเทศก์จะต้องรับผิดขอบ และตระหนักถึงจรรยาบรรณในการนำเสนอทุกกรณี และต้องไม่ละมิดทรัพย์สินทางปัญญา

    • ระหว่างการบรรยายให้มีการสอดแทรก (Inser) ภาพนิ่ง หรือภาพเดลื่อนไหวได้
    • ต้องไม่มีส่วนนำ (Title)
    • ไม่มีดนตรีประกอบ
    • ไม่มีเสียงพิเศษที่สร้างขึ้น (No sound effect)
    • ไม่มีการซ้อนตัวอักษรระหว่างการนำเสนอ แต่อาจใช้การนำเสนอผ่านโปรแกรมการนำเสนอได้ ได้แก่ PowerPoint, Keynote, Google Slides หรืออื่น ๆ

2) ลักษณะสำคัญทางเทคนิคของไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา

(1) ความละเอียดของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องมีภาพและเสียงที่ชัดเจนเพียงพอที่จะสามารถประเมินได้ตามสภาพการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจริง โดยสามารถตัดต่อได้ และสามารถใส่คำบรรยายด้านล่างของวีดิทัศน์ได้

(2) ประเภทของไฟล์วีดิทัศน์ ต้องเป็นไฟล์ mp4 (กรณีไม่สมารถบันทึกเป็นไฟล์ mp4 ได้ให้สามารถแปลงไฟล์ยื่นเป็นไฟล์ mp4 ได้ โดยไม่ถือเป็นการตัดต่อ)

(3) ความยาวของวีดิทัศน์ ไม่เกิน 10 นาที โดยให้ส่งไฟล์วีดิทัศน์การนำเสนอผลลัพธ์ในการพัฒนาการนิเทศการศึกษา จำนวน 1 ไฟล์

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!