fbpx
Digital Learning Classroom
หนังสือคู่มือ

คู่มือปฏิบัติการ เพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา ซึ่งถูกละเมิด กระทรวงศึกษาธิการ

แชร์เรื่องนี้

คู่มือปฏิบัติการ เพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษา ซึ่งถูกละเมิด กระทรวงศึกษาธิการ

แนวทางการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาซึ่งถูกละเมิด กระทรวงศึกษาธิการ

คำนิยามศัพท์

ผู้ถูกละเมิด หมายถึง บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในสังกัด หรือในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการที่ประสบปัญหาถูกละเมิด ทั้งกรณีทางเพศและความรุนแรงในทุกรูปแบบ

ผู้ละเมิด หมายถึง บุคคลใดที่ละเมิดนักเรียนนักศึกษา ทั้งกรณีทางเพศและความรุนแรงทุกรูปแบบ


การคุ้มครอง หมายถึง การปกป้องคุ้มครองนักเรียนนักศึกษา มิให้ตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจหรือพัฒนาการ โดยจัดให้อยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน สถานศึกษา หรือสถานที่อื่นใดที่นักเรียนนักศึกษาต้องพึ่งพาอาศัย และเป็นสมาชิกผู้หนึ่ง สามารถให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาได้ ตามมาตรฐานขั้นต่าตามที่กาหนดในกฎกระทรวง รวมทั้งพัฒนาให้มีพฤติกรรมที่ดี สามารถแสดงบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสมโดยมีระบบและขั้นตอนการปฏิบัติที่คานึงถึงประโยชน์สูงสุดที่เกิดขึ้นกับนักเรียนนักศึกษาเป็นหลักสอดคล้องกับหลักปฏิบัติตามกฎหมาย และหลักปฏิบัติที่มีมาตรฐาน

การช่วยเหลือ หมายถึง การป้องกันและแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักเรียนนักศึกษารอดพ้นจากภาวะอันตราย และได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็งมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการดำรงชีวิตและรอดพ้นจากวิกฤตทั้งปวง โดยคำนึงถึงความละเอียดอ่อนเฉพาะบุคคล อาทิ ความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ฯ

การส่งเสริมและพัฒนา หมายถึง การดาเนินกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาเป็นผู้คิดวางแผน ปฏิบัติ ติดตาม ประเมินผล และถอดบทเรียน เพื่อให้ค้นพบคุณค่าในตนเอง และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะชีวิต มีภูมิคุ้มกัน รับผิดชอบต่อตนเอง เคารพผู้อื่น และรับผิดชอบต่อส่วนรวม สังคม ประเทศชาติ

การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน หมายถึง การประสานความร่วมมือในการดำเนินงานการปกป้องคุ้มครองนักเรียนนักศึกษาของภาคีเครือข่ายในทุกระดับที่มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครอง และส่งเสริมให้ร่วมกันป้องกัน เฝ้าระวังปกป้อง คุ้มครองและดูแลช่วยเหลือ โดยมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นแกนในการบูรณาการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเป็นแกนในระดับการปฏิบัติ การติดตามด้วยกระบวนการเชิงบวก เป็นการพัฒนาคนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในลักษณะการให้คำแนะนำและการเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ระหว่างผู้ติดตามกับผู้ปฏิบัติ ให้กำลังใจ สร้างความเชื่อมั่นด้วยการปฏิบัติที่ให้เกียรติ ให้อภัย ให้โอกาสแก่ผู้ปฏิบัติงาน


การละเมิด หมายถึง การกระทาหรือไม่กระทำอันก่อให้เกิดอันตรายต่อนักเรียนนักศึกษา หรือทำให้นักเรียนนักศึกษา เสี่ยงอันตราย ประกอบด้วย การล่วงละเมิดทางกาย การล่วงละเมิดทางเพศ การล่วงละเมิดทางอารมณ์ และการละเลยทอดทิ้งเด็ก

การกระทำรุนแรง หมายถึง การกระทำใดๆ โดยใช้กาลัง การใช้สายตาหรือท่าที หรือวาจา โดยเจตนา เพื่อข่มขู่ คุกคาม ละเมิด ที่ทำให้นักเรียนนักศึกษา ตกอยู่ในภาวะยากลำบาก สร้างผลกระทบทางลบต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพัฒนาการ รวมถึงการใช้นักเรียนนักศึกษากระทำ หรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ และพัฒนาการ หรือขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรมอันดี รวมถึงการกระทำโดยมิชอบ ไม่ว่าจะยินยอม หรือไม่ก็ตาม

ความรุนแรงต่อร่างกาย หมายถึง กระทำด้วยความรุนแรงใด ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อชีวิตหรือไม่ก็ตาม หมายความรวมถึงการลงโทษด้วยการทำร้ายทุกรูปแบบ การกลั่นแกล้ง ข่มเหงรังแก การทรมานในรูปแบบต่างๆ การปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือต่ำช้า การลงโทษทางร่างกายและการลงโทษอย่างอื่นที่มีลักษณะโหดร้าย หรือต่ำช้า


การลงโทษทางกาย หมายถึง การลงโทษอย่างใดๆ โดยใช้กำลังและประสงค์จะให้เกิดความเจ็บปวด หรือความไม่สบายทางกาย ไม่ว่าจะรุนแรงมากน้อยเพียงใดก็ตาม การลงโทษทางร่างกายส่วนใหญ่จะเป็นการทุบตี การตบ หรือการเฆี่ยนตี โดยใช้มือหรือใช้วัสดุอื่นใด ไม่ว่าจะใช้มือ แส้ ไม้เรียว เข็มขัด รองเท้า ท่อนไม้ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การทำร้ายทางร่างกายยังอาจหมายรวมถึงการเตะ การเขย่า หรือการทุ่ม การข่วน การหยิก การกัด การกระชากผม หรือการตบที่กกหู การเฆี่ยน การบังคับให้อยู่ในท่าทางที่ไม่สบาย การเผา การนาบด้วยของร้อน การลวกด้วยน้าร้อนหรือ การบังคับให้กลืนสิ่งของ เป็นต้น

ความรุนแรงต่อจิตใจ หมายถึง การกระทาใดๆ โดยใช้สายตา ท่าที หรือวาจา โดยเจตนาทาให้เกิดผลกระทบทางลบต่อจิตใจ การทาร้ายจิตใจ การทาร้ายทางวาจา หรือการละเลย / ไม่เอาใจใส่ รวมถึงการล่วงละเมิดทางอารมณ์ ทั้งนี้ ความรุนแรงทางจิตใจหมายความรวมถึง

  • การมีปฏิสัมพันธ์ทุกรูปแบบในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อนักเรียนนักศึกษา อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น การกล่าววาจาซ้ำๆ ว่าไม่มีคุณค่า ไม่ได้รัก ไม่ได้เป็นที่ต้องการ หรือมีค่าเพียงแค่สนองความต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้กล่าววาจาเท่านั้น
  • การขู่เข็ญให้กลัว ข่มขู่คุกคาม การแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบและการฉ้อฉลในการปกครองดูแล (เช่นกำหนดให้เด็กต้องรับหน้าที่ดูแลน้องๆ ทั้งที่ตนเองยังมีอายุน้อยเกินควร ต้องช่วยทำงานหารายได้ ฯลฯ) การกดดัน (เช่น ตั้งเป้าหมายเกินความสามารถในด้านต่างๆ โดยบังคับให้ำาให้ได้) และการแสดงอาการรังเกียจ การโดดเดี่ยวและไม่ยอมรับ การละเลยไม่เอาใจใส่และการเลือกที่รักมักที่ชัง รวมทั้งไม่ยอมรับการเป็นสมาชิกผู้หนึ่งของครอบครัว ชุมชนและโรงเรียน
  • การไม่ตอบสนองทางอารมณ์ การละเลยความต้องการให้เป็นที่พึ่งทางใจ ละเลยทั้งที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและไม่ถ่ายทอดการเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ
  • การดูหมิ่นเหยียดหยาม การเรียกชื่อในลักษณะดูถูกดูหมิ่น การทำให้อับอายรู้สึกว่าตนเป็นคนต่ำต้อย การล้อเลียนทำให้เป็นตัวตลกและการทำร้ายจิตใจอื่นๆ เช่น การใส่ร้ายป้ายสี การตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดี เยาะเย้ยถากถาง ประชดประชัน เปรียบเปรย หรือนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ไล่ออกจากบ้าน ฯลฯ
  • การใช้ความรุนแรงในครอบครัวต่อหน้านักเรียนนักศึกษา
  • การกักขัง การแยกให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว การละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือการกักขังที่ลดชั้นหรือสถานะ
  • การข่มเหงรังแกจิตใจ รวมถึงการกระทำ เช่นว่าด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technologies หรือ ICT) เช่น โทรศัพท์มือถือ และอินเตอร์เน็ต (ที่เรียกว่า“การรังแกทางไซเบอร์”) รวมถึงการปฏิเสธและเป็นปฏิปักษ์

การล่วงเกินทางเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศ หมายถึง พฤติกรรมหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสมที่บุคคลแสดงออกต่อผู้อื่นในเรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำ หรือแสดงออกทางวาจา การใช้สายตา หรือท่าที การคุกคามอย่างชัดแจ้ง ทั้งนี้ ผู้ละเมิดหรือผู้ถูกละเมิด อาจเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน และการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นโดยทางกายภาพ หรือผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และให้รวมถึง

  • การพูดคุยติดต่อสื่อสารเรื่องทางเพศในเชิงชู้สาวกับนักเรียนนักศึกษา รวมถึงการส่งภาพ หรือสื่อลามกอนาจารให้นักเรียนนักศึกษา
  • การสร้างความไว้วางใจ เพื่อชักจูง ล่อลวง โน้มน้าว หรือการบังคับให้เข้าร่วมในกิจกรรมทางเพศที่ผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อจิตใจ
  • การใช้นักเรียนนักศึกษา สำหรับผลิตสื่อลามกอนาจารไม่ว่าจะเป็นภาพการล่วงเกินทางเพศหรือเป็นภาพคล้าย
  • การใช้นักเรียนนักศึกษาบำเรอทางเพศ การบังคับแต่งงาน การแสวงประโยชน์ทางเพศจากนักเรียนนักศึกษา การค้าประเวณี การขายเพื่อประโยชน์ทางเพศของผู้อื่น หรือการค้ามนุษย์ ไม่ว่านักเรียนนักศึกษา จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม

การทอดทิ้ง หรือ การปล่อยปละละเลย หมายถึง การไม่ตอบสนองต่อความต้องการทางร่างกายและจิตใจของนักเรียนนักศึกษา การไม่ปกป้องนักเรียนนักศึกษาให้พ้นจากอันตราย หรือไม่จัดให้นักเรียนนักศึกษาได้รับบริการอื่นๆ แม้ว่าบุคคลผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเลี้ยงดูนั้นมีความสามารถ รวมทั้งความรู้ที่จะกระทำเช่นว่านั้น อีกทั้งสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้การทอดทิ้งหมายความรวมถึง

  • การทอดทิ้งหรือการปล่อยปละละเลยทางกาย หมายถึง การไม่ปกป้องนักเรียนนักศึกษาจากอันตราย (ไม่ดูแลให้มีความปลอดภัยในชีวิตประจาวัน) รวมทั้งไม่ถ่ายทอดทักษะต่างๆ หรือไม่ให้สิ่งจาเป็นขั้นพื้นฐานที่เพียงพอ ได้แก่ อาหาร ที่พักอาศัย เครื่องนุ่งห่ม และการดูแลรักษาสุขภาพ
  • การทอดทิ้งหรือการปล่อยปละละเลยทางจิตใจ หมายถึง การไม่สามารถเป็นที่พึ่งด้านจิตใจและไม่ให้ความรัก ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ความใส่ใจต่ออารมณ์จิตใจ ไม่เข้าใจสิ่งที่นักเรียนนักศึกษาต้องการจะบอก หรือส่งสัญญาณร้องขอ ตลอดจนมีการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สามีภรรยา การใช้ยาเสพติดหรือการเสพสุราขณะที่อยู่กับนักเรียนนักศึกษา
  • การละเลยไม่เอาใจใส่สุขภาพร่างกายและจิตใจ หมายถึง การไม่ให้การรักษาพยาบาลที่จำเป็น
  • การละเลยเกี่ยวกับการศึกษา หมายถึง การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดให้ ผู้ดูแลต้องจัดให้นักเรียนนักศึกษา ได้รับการศึกษาโดยเข้าเรียนในโรงเรียนหรือการศึกษาแบบอื่น
ดาวน์โหลด
เอกสารเล่มเล็ก กราฟิกอ่านง่าย
เอกสารเนื้อหา ฉบับเต็ม

ที่มา: ศธ.360 องศา

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!