fbpx
Digital Learning Classroom
DPAPAการเรียนรู้เชิงรุก

ทักษะหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Core work-related skills) ตามตัวชี้วัดการประเมินด้านที่ 2 ในการขอมี หรือเลือนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว9/2564 ของครู สายผู้สอน

แชร์เรื่องนี้

ทักษะหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Core work-related skills) ที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ตามตัวชี้วัดการประเมินด้านที่ 2 ในการขอมี หรือเลือนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว9/2564 ของครู สายผู้สอน

แนวทางการเขียน PA ตามแบบการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งครู

Performance ของครู ดูจากอะไร

ทักษะการจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียน

  • เข้าถึงและเข้าใจสิ่งที่เรียน
  • เชื่อมโยงความรู้เดิม ประสบการณ์เดิมไปสู่ “การเรียนรู้”ใหม่
  • สร้างความรู้ ประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
  • กระตุ้นแรงจูงใจในการเรียนรู้
  • พัฒนาทักษะ ความเชี่ยวชาญ จากการเรียนรู้
  • ให้ข้อมูลสะท้อนกลับ
  • พัฒนาบรรยากาศการเรียน
  • ฝึกการกำกับการเรียนรู้ และการนำตนเอง

ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนตามวัยและลักษณะผู้เรียน

  • เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ของครู
  • สร้างทักษะพื้นฐาน (Basic skill)
  • ใช้ความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive ability)
  • ได้บูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross functional skill)

เปลี่ยนการสอน ไปสู่ การเรียนรู้

สิ่งที่ครูต้องแสดงให้เห็นในผลลัพธ์ในการสอน

จากภาพผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ตามตัวชี้วัดการประเมินด้านที่ 2 (Core work-related skills) สามารถอธิบายได้ดังนี้

คําจํากัดความขอทักษะหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Core work-related skills)

ความสามารถ (ABILITIES)
ทักษะ/กลุ่มความสามารถทักษะ/ความสามารถนิยาม
ความสามารถทางปัญญา (Cognitive Abilities)ความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility)  ความสามารถในการสร้าง หรือใช้ชุดกฎที่แตกต่างกันสําหรับการรวม หรือจัดกลุ่มสิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบที่แตกต่างกัน
 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)ความสามารถในการคิดความคิดที่ผิดปกติ หรือฉลาดเกี่ยวกับหัวข้อ หรือสถานการณ์ที่กําหนด หรือเพื่อพัฒนาวิธีที่สร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา
 การให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical Reasoning)  ความสามารถในการรวมส่วนต่าง ๆ ของข้อมูลเพื่อสร้างหลักการทั่วไป หรือข้อสรุป (รวมถึงการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง) และ / หรือใช้หลักการทั่วไป กับปัญหาเฉพาะเพื่อสร้างคําตอบที่สมเหตุสมผล
 ความไวต่อปัญหา (Problem Sensitivity)  ความสามารถในการบอกเมื่อมีสิ่งผิดปกติ หรือมีแนวโน้มที่จะผิดพลาดไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาเพียงแต่ตระหนักว่ามีปัญหา
 การให้เหตุผลตามหลักคณิตศาสตร์  (Mathematical Reasoning)ความสามารถในการเลือกวิธีการทางคณิตศาสตร์หรือสูตรที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา
 การมีวิสัยทัศน์กว้างไกล(Visualization)  ความสามารถในการจินตนาการว่าสิ่งของจะมีลักษณะอย่างไรเมื่อเคลื่อนย้ายไปมา หรือเมื่อชิ้นส่วนถูกย้าย หรือจัดเรียงใหม่
ความสามารถทางกายภาพ (Physical Abilities)  ความชํานาญและความคล่องแคล่ว (Manual Dexterity and Precision)ความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ประสานกันอย่างแม่นยําเพื่อจับจัดการ หรือรวบรวมวัตถุ
 ความแข็งแรง (Physical Strength)ความสามารถในการออกแรงของกล้ามเนื้อสูงสุดในการยก ผลัก ดึง หรือพกพาวัตถุ
ทักษะพื้นฐาน (BASIC SKILLS)
ทักษะ/กลุ่มความสามารถทักษะ/ความสามารถนิยาม
ทักษะด้านเนื้อหา (Content Skills)การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)  การทําความเข้าใจความหมายของข้อมูลใหม่สําหรับการแก้ปัญหา และการตัดสินใจทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
 การแสดงออกทางปาก (Oral Expression)  พูดคุยกับผู้อื่นเพื่อถ่ายทอดข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
 ความเข้าใจในการอ่าน (Reading Comprehension)  การทําความเข้าใจประโยค และย่อหน้าที่เป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
 การแสดงออกเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Expression)  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นลายลักษณ์อักษรตามความเหมาะสมกับความต้องการของผู้ชม
 ความรู้ด้านไอซีที (ICT Literacy)การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเครื่องมือสื่อสาร และเครือข่ายเพื่อเข้าถึงจัดการบูรณาการประเมิน และสร้างข้อมูล
ทักษะกระบวนการ (Process Skills)  การฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)  ให้ความสนใจอย่างเต็มที่กับสิ่งที่คนอื่นพูดใช้เวลาในการทําความเข้าใจประเด็นที่เกิดขึ้นถามคําถามตามความเหมาะสม และไม่ขัดจังหวะในเวลาที่ไม่เหมาะสม
 การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)  การใช้ตรรกะ และเหตุผลเพื่อระบุจุดแข็ง และจุดอ่อนของการแก้ปัญหาทางเลือกข้อสรุป หรือแนวทางแก้ไขปัญหา
 การประเมินตนเองและผู้อื่น (Monitoring Self and Others)ติดตาม/ประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง บุคคล หรือองค์กรอื่น ๆ เพื่อปรับปรุง หรือดําเนินการแก้ไข
ทักษะข้ามสายงาน (CROSS-FUNCTIONAL SKILLS)
ทักษะ/กลุ่มความสามารถทักษะ/ความสามารถนิยาม
ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving Skills)การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem Solving)พัฒนาขีดความสามารถที่ใช้ในการแก้ปัญหาที่แปลกใหม่ และไม่ชัดเจนในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน และเป็นจริง
ทักษะด้านการบริหารทรัพยากร (Resource Management Skills)  การจัดการทรัพยากรทางการเงิน (Management of Financial Resources)  การกําหนดวิธีการใช้เงินเพื่อให้งานสําเร็จลุล่วงและการบัญชีสําหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้
 การจัดการทรัพยากรวัสดุอุปกรณ์ (Management of Material Resources)การได้รับ และเห็นการใช้อุปกรณ์สิ่งอํานวยความสะดวก และวัสดุที่จําเป็นในการทํางานบางอย่างอย่างเหมาะสม
 การบริหารกำลังคน(People Management)สร้างแรงจูงใจพัฒนา และกํากับผู้คนในขณะที่พวกเขาทํางาน ระบุคนที่ดีที่สุดสําหรับงาน
 การบริหารเวลา (Time Management)           การจัดการเวลาของตัวเองและเวลาของผู้อื่น
ทักษะทางสังคม (Social Skills)การทำงานร่วมกับผู้อื่น(Coordinating with Others)การปรับการกระทําที่สัมพันธ์กับการกระทําของผู้อื่น
 ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence)  การตระหนักถึงปฏิกิริยาของผู้อื่น และเข้าใจว่าทําไมพวกเขาถึงตอบสนองเหมือนที่พวกเขาทํา
 การเจรจาต่อรอง (Negotiation)  นําผู้อื่นมารวมกันและพยายามประนีประนอมความแตกต่าง
 การโน้มน้าว (Persuasion)การโน้มน้าวให้ผู้อื่นเปลี่ยนความคิดหรือพฤติกรรม
 การให้บริการ (Service Orientation)กําลังมองหาวิธีช่วยเหลือผู้คนอย่างแข็งขัน
 การฝึกอบรมและการสอนผู้อื่น (Training and Teaching Others)สอนผู้อื่นถึงวิธีการทําอะไรบางอย่าง
ทักษะเป็นระบบ (Systems Skills)  การวินิจฉัยและการตัดสินใจ (Judgement and Decision Making)พิจารณาต้นทุนสัมพัทธ์ และประโยชน์ของการดําเนินการที่อาจเกิดขึ้นเพื่อเลือกสิ่งที่เหมาะสมที่สุด
 การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (Systems Analysis)  การกําหนดว่าระบบควรทํางานอย่างไรและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการดําเนินงานและสภาพแวดล้อมจะส่งผลต่อผลลัพธ์อย่างไร
ทักษะทางเทคนิค (Technical Skills)  การรักษาและการซ่อมแซมอุปกรณ์ (Equipment Maintenance and Repair)  ดําเนินการบํารุงรักษาอุปกรณ์เป็นประจําและกําหนดเวลาและประเภทของการบํารุงรักษาที่จําเป็นและ / หรือการซ่อมแซมเครื่องจักรหรือระบบโดยใช้เครื่องมือที่จําเป็น
 การควบคุมและการใช้งานอุปกรณ์ (Equipment Operation and Control)ดูมาตรวัดหน้าปัดหรือตัวบ่งชี้อื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องทํางานอย่างถูกต้อง การควบคุมการทํางานของอุปกรณ์หรือระบบ
 การเขียนโปรแกรม(Programming)การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ
 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)  ดำเนินการทดสอบ และตรวจสอบผลิตภัณฑ์บริการ หรือกระบวนการเพื่อประเมินคุณภาพ หรือประสิทธิภาพ
 การออกแบบเทคโนโลยีและประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ (Technology and User Experience Design)การสร้าง หรือปรับอุปกรณ์ และเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
 การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ (Troubleshooting)การกําหนดสาเหตุของข้อผิดพลาดในการดําเนินงาน และตัดสินใจว่าจะทําอย่างไรกับมัน

ดังนั้นในการออกแบบกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้ของครูควรมีการเตรียมการตลอด 4 ปี ก่อนการยื่นขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ เพื่อฝึกผู้เรียนให้มีความพร้อมตามเกณฑ์ดังต่อไ

การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ (ให้แสดงในคลิปการสอน 1 ชั่วโมง)

** ให้แสดงในผลลัพท์คลิปการสอน 1 ชั่วโมง ที่ใช้จัดการเรียนรู้ ในรายวิชา/วิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ และนำไปใช้สอนจริงในตำแหน่ง หรือวิทยฐานะที่ดำรงอยู่

(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้อง และตรงตามหลักสูตร 
2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม 
3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบทเรียน 
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียน 
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) 

(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

1) มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ 
2) มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ 
3) มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอ ที่จะเชื่อมโยงกับการ เรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ 
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิม กับการเรียนรู้ใหม่ 
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) 

(3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

1) ออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพ และบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน
2) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย
3) ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือสร้างประสบการณ์ใหม่
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

(4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

1) กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน
2) วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียน
3) ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลว ที่เกิดขึ้น
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

(5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

1) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2) ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
3) ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์ หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ ของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

(6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

1) มีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน ในระหว่างการเรียนรู้
2) มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ
3) มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้จากข้อมูลสะท้อนกลับของครู
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

(7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

1) ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน
2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง
3) ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย และกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

(8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

1) ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ
2) ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียน
3) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่อง เพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกำกับการเรียนรู้ และการเรียนรู้ แบบนำตนเองของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

การประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ (ให้แสดงในไฟล์ดิจิทัลผลงาน หรือผลการปฏิบัติของผู้เรียน)

** ให้แสดงในไฟล์ดิจิทัลผลงาน หรือผลการปฏิบัติของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังจากการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน ตามไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน จำนวนไม่เกิน 3 ไฟล์ ในรูปแบบไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์ภาพ หรือไฟล์ PDF ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

(1) ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู

1) เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในแผนการจัดการเรียนรู้
2) เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน
3) สอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน
4) เกิดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียน ไม่ใช่ผลงานหรือผลการปฏิบัติของครู
5) เหมาะสม คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

(2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ
2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ
3) ทักษะการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการเรียน หรือการฝึก
4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ
5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน

(3) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ
2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม
3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ
4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ
5) กระบวนการคิดเชิงระบบ

(4) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเองการทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด
2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น
3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน
4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะ ทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้
5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลาย
การแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อน หลายระดับ

จากนั้นจึงควรนำมาเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้กับผู้เรียน โดยอาจเน้นกิจกรรมดังนี้

ลองนำไปพิจารณาและออกแบบการสอนดูนะครับ

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

Line ID: Musicmankob

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!