fbpx
Digital Learning Classroom
DPAPAวิทยะฐานะ

แนวทางการออกแบบการสอนเพื่อขอมีหรือวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA (ว9/2564)  ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการออกแบบการสอนเพื่อขอมีหรือวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ PA (ว9/2564)  ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 

สิ่งที่ครูต้องแสดงให้เห็นในผลลัพธ์ในการสอน

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 

1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

ตัวชี้วัดทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนน คะแนนวงน้ำหนัก (คะแนน x 2.5) 
ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน 512.5
ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่512.5
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ 512.5
ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 512.5
ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้ 512.5
ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ 512.5
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม 512.5
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถ กำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง 512.5
40100

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

ชำนาญการชำนาญการพิเศษเชี่ยวชาญ
   1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้อง และตรงตามหลักสูตร    
2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม    
3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียน    
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียน    
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)
  1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้อง และตรงตามหลักสูตร    
2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม    
3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียน    
4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้างกิจกรรม หรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ในบทเรียน   
5) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรม หรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)
 1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้อง และตรงตามหลักสูตร    
2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม    
3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียน 
4) แสดงให้เห็นถึงการคิดค้นวิธีการใหม่ ๆในการออกแบบโครงสร้าง กิจกรรม หรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ในบทเรียนอย่างชัดเจน
5) แสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนหรือสื่อการเรียน ที่ส่งผลต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝนมีความถูกต้อง และตรงตามหลักสูตร

ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ครูควรอออหแบบการสอนที่เน้นกิจกรรมที่มีการบูรณาการวิถีชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน โดยอาจมีการนำเข้าสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยให้ครูยกตัวอย่างที่อยู่ใกล้ ๆ ตัวของผู้เรียนมาใช้ประกอบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยอาจมีการนำวิถีชีวิตของชุมชน ประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิต อาชีพในท้องถิ่น ฯลฯ มาเป็นหลัก หรือแกนหลักในการจัดการเรียนรู้ กล่าวโดยรวมก็คือ การเรียนรู้อย่างมีความหมาย และการนำองค์ความรู้จากห้องเรียนสู่การใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง

2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม

ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ให้ผู้เรียน โดยกิจกรรมต้องมีลักษณะที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน มีความน่าสนใจ เร้าความสนใจของผู้เรียน ทั้งนี้ครูต้องพิจารณาถึงความยากง่ายที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียนด้วย เช่นกัน

3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบทเรียน

อธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ทั้งนี้อาจเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อย ครูก็กระตุ้นให้ผู้เรียนได้สะท้อนการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นการนำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น

 

4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรมหรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ในบทเรียน

ครูควรริเริ่มคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ที่จะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยปกติเราก็จะเสริมแรงทางบวกโดยการให้คำชม ให้คะแนน ให้ดาว ครูควรคิดวิธีการใหม่ๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน

5) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรม หรือสื่อการเรียนใหม่ ๆส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

บันทึกหลังการสอนต้องบันทึกโดยกล่าวถึง การใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ ในการเรียนรู้ อย่างไรบ้าง โดยให้ครูเขียนอธิบายให้ชัดเจน

ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

การใช้สื่อมัลติมีเดีย:

  • ใช้วิดีโอ ภาพถ่าย แผนภูมิ และแสตมป์แสดงภาพ เพื่อให้ผู้เรียนได้เห็นและเข้าใจแนวคิดต่าง ๆ ในบทเรียน
  • สร้างวิดีโอสอนที่ชัดเจนและมีสไลด์ประกอบ เพื่อช่วยให้ข้อมูลที่ซับซ้อนเป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น

แบบทดสอบแบบปรนัย:

  • สร้างแบบทดสอบที่มีคำถามแบบปรนัยที่ช่วยให้ผู้เรียนให้คำตอบและทดสอบความเข้าใจของผู้เรียน
  • การให้คำตอบอธิบาย หรือแสดงตัวอย่างการแก้ปัญหาเมื่อผู้เรียนตอบผิด เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากข้อผิดพลาด

กิจกรรมกลุ่ม:

  • สร้างกิจกรรมที่ให้โอกาสให้ผู้เรียนทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อสร้างทักษะการทำงานทีม และการแลกเปลี่ยนความคิด
  • ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่ให้โอกาสให้ผู้เรียนแบ่งปันความรู้กับกลุ่มของตนเอง

การใช้เทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้:

  • สร้างแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและให้ข้อมูลทันที
  • ใช้เทคโนโลยีเสริมเพื่อช่วยในการสอน เช่น เว็บแอปพลิเคชัน วิดีโอคอล หรือแพลตฟอร์มการสนทนาออนไลน์

กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย:

  • สร้างกิจกรรมที่มีลักษณะที่หลากหลายเพื่อตอบสนองต่อสไตล์การเรียนของผู้เรียน
  • ให้โอกาสให้ผู้เรียนเลือกกิจกรรมที่ตรงกับความสนใจและวัยของผู้เรียน

การให้คำตอบและติชม:

  • ให้คำตอบและติชมอย่างระมัดระวังเพื่อส่งเสริมทัศนคติที่สามารถนำไปสู่การพัฒนา
  • ให้ผู้เรียนรู้สึกว่าตนเองได้รับการติดตามและการสนับสนุนในการเรียนรู้ของผู้เรียน

 

แนวทางการออกแบบกิจกรรมการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

การเริ่มต้นด้วยการท้าทาย

  • สร้างภารกิจที่ท้าทายและต้องการการคิดเชิงสร้างสรรค์
  • ให้นักเรียนเลือกหรือสร้างโครงการของตนเอง

การให้นักเรียนมีส่วนร่วม

  • สร้างบรรยากาศที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนความคิด
  • ให้โอกาสในการทำงานร่วมกับเพื่อน

การใช้เทคโนโลยีและสื่อ

  • นำเข้าเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้, เช่น ให้นักเรียนสร้างวิดีโอ, ใช้แอปพลิเคชันการเรียนรู้, หรือใช้สื่อต่างๆ
  • สร้างกิจกรรมที่ใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้

การสนับสนุนการทำงานกลุ่ม

  • ให้โอกาสในการทำงานเป็นกลุ่ม
  • สร้างโครงการหรือกิจกรรมที่ต้องการการทำงานร่วมกัน.

การสร้างสถานการณ์จำลอง

  • ให้นักเรียนได้ลองประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จำลองจริง
  • สร้างกิจกรรมที่นำเสนอภาวะต่างๆ และท้าทายนักเรียนให้แก้ปัญหา

การให้คำติชมและการฟีดแบ็ค

  • ให้นักเรียนรับรู้ถึงการพัฒนาของตนเอง
  • สร้างระบบให้คำติชมจากเพื่อนหรือครู

การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

  • สนับสนุนนักเรียนในการตั้งเป้าหมายส่วนตัว
  • สร้างการบ้านที่กระตุ้นความสนใจและการสืบค้น

การให้นักเรียนมีผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้

  • สร้างโครงการหรือกิจกรรมที่นักเรียนสามารถสร้างผลงานจริง
  • สนับสนุนการนำเสนอผลงานในห้องเรียน


การให้โอกาสในการส่งเสริมความคิดวิเคราะห์

  • ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาและการวิเคราะห์ข้อมูล
  • สร้างกิจกรรมที่ต้องการการวิเคราะห์และการคิดเชิงวิเคราะห์

ตัวอย่าง กิจกรรม Active-based Learning ใน 60 นาที

แนวดำเนินการจัดกิจกรรม

       กิจกรรม บทบาทนักเรียนบทบาทครู
1. กระตุ้นคิด สร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในสถานการณ์การเรียนรู้ใหม่
2.แสวงหาความรู้ ฝึกฝนทักษะที่ต้องใช้ปฏิบัติในสถานการณ์ที่กำหนด
3.ลงมือปฏิบัติจริงและร่วมปฏิสัมพันธ์สะท้อนคิดในสถานการณ์ที่กำหนด
4.สื่อสารผลการปฏิบัติ
5.ปรับ ประยุกต์ใช้ความรู้และเผยแพร่ 
• กระตือรือร้นในการเรียน เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์เดิมกับสถานการณ์การเรียนรู้ใหม่ 
• ค้นหาความรู้ และฝึกฝนทักษะด้วยกระบวนการกลุ่มและรูปแบบวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม
• นำความรู้และทักษะที่ฝึกฝนมาลงมือคิด ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองและร่วมอภิปราย สะท้อนคิดกับเพื่อนและครูเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่
• นำเสนอผลงานด้วยวิธีการที่เหมาะสม 
• ปรับปรุงผลงานและนำความรู้ไปสร้างสรรค์พัฒนางานและเผยแพร่
• ออกแบบหรือร่วมออกแบบสถานการณ์การเรียนรู้
• สร้างแรงจูงในในการเรียนรู้
• ชี้แนะ คอยแนะนำและอำนวยความสะดวกในการค้นหาความรู้ การฝึกฝนทักษะของผู้เรียน
• สนับสนุนสื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติตามสถานการณ์ที่กำหนด
• สร้างบรรยากาศในการมีส่วนร่วมและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีในชั้นเรียน
• ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนกล้าคิด กระตุ้นให้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง
• สะท้อนกลับผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

ตัวอย่างการบันทึกหลังสอน

This image has an empty alt attribute; its file name is image-84-1024x591.png

ศึกษาเพิ่มเติมผลงานของ ครูจีรนันท์ ละอองทอง ได้ที่นี่

ขอขอบคุณแนวทางการเขี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ จาก นพดล โป่งอ้าย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!