fbpx
Digital Learning Classroom
PAวิทยะฐานะหลักสูตรฐานสมรรถนะ

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน เพื่อการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA)

แชร์เรื่องนี้

การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ตามแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน เพื่อการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) หัวใจสำคัญของวันนี้คือ

การคัดสรรตัวชี้วัดระหว่างทางและปลายทาง

  • เป็นการคัดสรรตัวชี้วัดสำคัญซึ่งสะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้หลักที่จะใช้ในการวัดและประเมินผลเพื่อลดภาระของครูและนักเรียนในการวัดและประเมิน โดยไม่เสียคุณภาพ
  • จำนวนตัวชี้วัดในแต่ละกลุ่มสาระไม่ได้สะท้อนความสำคัญของกลุ่มสาระ
  • จำนวนตัวชี้วัดจะขึ้นกับธรรมชาติของกลุ่มสาระนั้นๆ เป็นสำคัญ
  • จำนวนตัวชี้วัดปลายทาง 771 ตัวชี้วัดนี้สามารถอธิบายความสำเร็จของผู้เรียนในการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างเพียงพอ

ตัวชี้วัดระหว่างทาง

ใช้ในการ…จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และเน้นการประเมินในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ที่เป็น…การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นหลัก (Formative Assessment)

ผ่าน…มโนทัศน์ของ การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for learning)

และ…การประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as learning ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลาย

หมายถึง….การสอนเพื่อ

ประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Formative Assessment) เป็นหลัก

ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Assessment for Learning)

ประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment as Learning)

เน้น…การวัดและประเมินผลแบบไม่เป็นทางการ (Informal Assessment)

ใช้…วิธีการประเมินที่หลากหลาย เช่น

การสังเกตพฤติกรรม

การสอบปากเปล่า

การพูดคุย

การใช้คำถาม

การเขียนสะท้อนการเรียนรู้

การประเมินตนเอง

การประเมินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามบริบทการเรียนรู้

ผู้ปกครอง ครู เพื่อน ผู้ประกอบการ ชุมชน

เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

นั้นก็หมายความว่า…ตัวชี้วัดที่อยู่ในกลุ่มของ “ตัวชี้วัดระหว่างทาง”

เรียนเสร็จก็ “วัด หรือประเมิน” เพื่อ “ประเมินผลในตัวชี้วัดนั้น ๆ” ได้เลย

ไม่ต้องเอาไปสอบปลายภาคอีก

____

ตัวชี้วัดปลายทาง

ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

โดยเน้นที่…การประเมินผลลัพธ์สุดท้าย

ที่…ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (Summative Assessment) ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

เน้น…การวัดและประเมินผลแบบเป็นทางการ (Formal Assessment)

นำ…ผลการประเมินไปใช้เปรียบเทียบ เช่น

เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อดูพัฒนาการ

หรือ ใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ เมื่อสิ้นสุดการสอนในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชา

เป็นตัวแทนของระดับความสามารถของผู้เรียน

เน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน
(SUMMATIVE ASSESSMENT)

โดยใช้วิธีการประเมินที่หลากหลาย

การประเมินการปฏิบัติ

การประเมินแฟ้มสะสมงาน

การประเมินด้วยแบบทดสอบ

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน

การสอบปากเปล่าออนไลน์

การประเมินโดยใช้หลักฐานการเรียนรู้ ฯลฯ

ท่านสามารถใช้การประเมินจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตามบริบทการเรียนรู้

ผู้ปกครอง ครู เพื่อน ผู้ประกอบการ ชุมชน

จากนั้นจึงนำคะแนน/ระดับคุณภาพ

ไปใช้…เปรียบเทียบหรือตัดสินผล เช่น

เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

เพื่อ…ดูพัฒนาการ

หรือ…นำผลใช้เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยการเรียนรู้ หรือรายวิชา

นั้นก็หมายความว่าตัวชี้วัดในกลุ่ม “ตัวชี้วัดปลายทาง”

จะใช้ “วัด หรือประเมิน” เพื่อ “ประเมินผลในตัวชี้วัดนั้น ๆ”โดย เน้นที่การประเมินผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (SUMMATIVE ASSESSMENT)

นั้นก็หมายความว่า ท่านสามารถสอบปลายภาคนอกตารางสอบ ได้เลย

หากท่าน…มีแนวทางในการ “วัด หรือประเมิน” เพื่อ “ประเมินผลในตัวชี้วัดนั้น ๆ” ที่ชัดเจน

โดยที่ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินตัวชี้วัดปลายทางผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด


___

จากเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษา ได้บอกว่า

1. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ

2. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินตัวชี้วัดปลายทางผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

(นั้นก็หมายความว่าตัวชี้วัดระหว่างทางไม่เอามานับในการการตัดสินผลการเรียน) ตัวชี้วัดระหว่างทางเรียนเสร็จแล้วก็ประเมินเลย

3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา

4. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินและมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

ในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สรุปแนวทางการออกแบบการเรียนรู้

1. ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน

2. การจัดการเรียนรู้นักเรียนต้องได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสอดคล้องกับตัวชี้วัดทุกตัว

3. การออกแบบการเรียนรู้สามารถทำได้ทั้งใช้ตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน และข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้

4. การประเมินเพื่อสรุปหรือตัดสินผลการเรียนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้และเมื่อจบการเรียนรู้

5. ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทางที่เป็นทักษะสามารถใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 หน่วยการเรียนรู้

ตัวอย่างการวัดและประเมินผล

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง

___

ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง

ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน โหลดได้ที่นี่

https://shorturl.asia/uoJD2

การจัดการเรียนรู้

ซึ่งในการประยุกต์ใช้กับการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ท่านจึงควรดำเนินการตาม 8 ตัวชี้วัดต่อไป

เมื่อเราสามารถแยกตัวชี้วัดได้แล้วจากนั้นให้มาเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นท้าทาย เรื่อง ……………………………………………………………………………………………………… เช่น

แนวทางประเด็นท้าทายด้าน รูปแบบและแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา (CIPPA Model)

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Cycle Learning Model)

3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT Cycle Learning Model)

4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectic Learning Model)

5. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยนาเสนอมโนมติล่วงหน้า (Advance Organizer Model

6. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning Model)

7. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning Model)

8. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-Based Learning Model)

10. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS (SSCS Learning Model)

11. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Learning Management 
     
Emphasizing Critical Thinking Model)

12. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ (Learning Management Emphasizing 
     
Analytical Thinking Model)

13. รูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ 5 ชั้น (5 STEPs Learning Model)

14. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการแบบเปิด (Opened Approach)

แนวทางประเด็นท้าทาย การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

1รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมกัน (Collaborative learning)

2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) 8 รูปแบบ

3. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning)

4. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach)

5. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านการทำงาน (Work based Learning)

6. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐาน (Activity based Learning)

7. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)

8. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดConstructivism

9. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได(IS)

นวัตกรรมที่เลือกมาเป็นประเด็นท้าทาย

  • ชุดการสอน/ชุดการเรียนรู้
  • แบบฝึกปฏิบัติ ชุดฝึก ชุดฝึกปฏิบัติ ใบงาน แบบฝึก บทเรียนสำเร็จรูป
  • คู่มือ เอกสารการสอน
  • เอกสารประกอบการเรียน
  • หนังสือเสริมประสบการณ์
  • ชุดเกม ชุดเพลง การ์ตูน เอกสาร แผ่นป้ายนิเทศ
  • แถบบันทึกเสียง CD VCD DVD E-Book
  • ระบบE Learning
  • การเรียนออนไลน์ผ่านเวปไซต์ ฯลฯ

การจัดการเรียนรู้

ไม่มีวิทยฐานะชำนาญการชำนาญการพิเศษเชี่ยวชาญ
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง
การสร้างและหรือพัฒนา
หลักสูตร การออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี 
และแหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์
เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้
การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนและการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการสร้างและหรือพัฒนา
หลักสูตร การออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้
การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์
เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ 
การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนและการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน 
 ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง
 การสร้างและหรือพัฒนา
หลักสูตร การออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี 
และแหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ 
เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ 
การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนและการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง
 การสร้างและหรือพัฒนา
หลักสูตร การออกแบบ
การจัดการเรียนรู้ 

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี
และแหล่งเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้
การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์
เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ 
การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนและการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

ในการปรับหลักสูตรใหม่ทั้งหมดตามแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทางตัวชี้วัดปลายทาง และนำมาเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน ในปีงบประมาณ 2567 เพื่อพัฒนาทักษะทั้ง 3 ของผู้เรียนคือ

 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน  แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

(3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

(4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

(5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

(6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

(7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

(8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

การจัดการเรียนรู้เชิงของครู

เพื่อการสร้างทักษะพื้นฐาน (Basic skill) ของผู้เรียน

1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ
2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ
3) ทักษะการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการเรียน หรือการฝึก
4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ
5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน

ผู้เรียนใช้ความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive ability)

1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ
2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม
3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ
4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ
5) กระบวนการคิดเชิงระบบ

และผู้เรียนได้บูรณาการทักษะในการทำงาน(Cross functional skill)

1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเองการทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด
2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น
3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน
4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะ ทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้
5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อน หลายระดับ

เอกสารประกอบการบรรยาย

ตัวชี้วัดต่าง ๆ

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!