fbpx
Digital Learning Classroom
วิจัยวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

สรุปแนวทางการเขียนรายงานวิจัย R&D ในระดับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

แชร์เรื่องนี้

สรุปแนวทางการเขียนรายงานวิจัย R&D ในระดับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

ในการทำงานวิจัยเรื่องการ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เขียนได้นำ แบบแผนการวิจัย “รูปแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research)” ผู้เขียนจะยกตัวอย่างจากการเขียนรายงานการวิจัยในบทที่ 3 ดังนี้

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยรูปแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในแบบแผนเชิงผสมผสานแบบสำรวจบุกเบิก (Explanatory Designs) โดยแบ่งการวิจัยออกเป็นสองระยะต่อเนื่องกัน (Two-Phase mixed methods design) ที่เริ่มต้นการศึกษาระยะแรกด้วยวิธีการเชิงคุณภาพแล้วศึกษาต่อเพื่ออธิบายด้วยวิธีการเชิงปริมาณ (Creswell, 2012)

รูปแบบที่ใช้อธิบาย คือ รูปแบบการพัฒนาสารบบ (Explanatory Design: taxonomy development model) มุ่งเน้นการศึกษาเฉพาะรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เน้นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ (Exploratory Design: Taxonomy Development Model: QUAL emphasized) และเน้นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพก่อนนำผลไปวิเคราะห์ต่อในเชิงปริมาณ (Creswell and Clark, 2007)

ตัวอย่างการออกแบบการวิจัยดังภาพ

การวิจัยแบบผสมเชิงสำรวจ ประเภทโมเดลการพัฒนาสารบบ
ที่มา: อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561 หน้า 168

ขั้นตอนดำเนินการวิจัย

ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการวิจัย คือ 1 ปี (เดือนมิถุนายน 2560 – กุมภาพันธ์ 2561) โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ขั้นตอนดำเนินการวิจัย
ที่มา: อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561 หน้า 169

ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้เขียนแบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ดำเนินการดังนี้

1. ศึกษาทฤษฎี เอกสาร งานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี หรือการเรียนแบบผสมผสาน (Blended Learning)

2. ร่างกรอบแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะ
การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

3. สังเคราะห์การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดองค์ประกอบสำหรับใช้ในการศึกษาสภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบสำคัญในการสังเคราะห์ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์3) กระบวนการของรูปแบบ และ 4) การวัดและประเมินผล

4. นำผลสรุปการสัมภาษณ์ในประเด็นต่าง ๆ มารวมกับผลการสังเคราะห์การจัดกระบวน
การเรียนรู้ที่ได้จากการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดองค์ประกอบสำหรับใช้ในการศึกษาสภาพการจัดกระบวนการเรียนรู้ ทำให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนำมาประกอบการสร้างตัวชี้วัด และเครื่องมือสำหรับระยะ ที่ 2 ต่อไป

5. ผู้เชี่ยวชาญประเมินรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

การเก็บรวบรวมข้อมูลระยะที่ 1

ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้เขียนใช้

    • กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) (ทิศนา แขมณี, 2556: 195-218; รุจโรจน์ แก้วอุไร, ม.ป.ป.; วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2552)
    • ร่วมกับการออกแบบเชิงระบบตามแนวคิด ADDIE Model (Allen, 2012; Kruse and Meyer, 2012)
    • และรูปแบบระบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2558)

สำหรับออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยแบบแผนการทดลองแบบ (Pre Experimental Design) แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว (The One-Shot Case Study) (พรรณี ลีกิจวัฒนะ, 2556) สำหรับขั้นตอนในการเก็บข้อมูลทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจ ซึ่งผู้รายงานดำเนินตามวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: R1) การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A)

การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ผู้รายงานทำการวิเคราะห์สภาพการจัดการความรู้ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบไปด้วยขั้นตอนในการวิเคราะห์
6 ขั้นตอน (อนุศร หงษ์ขุนทด, 2558: 175-177) ดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมาย (Goal)

2. การศึกษาบริบทของผู้เรียน (Learners Context)

3. การศึกษาความต้องการของผู้เรียน (Learners Needs)

4. การศึกษาบริบทการเรียนรู้ (Learning context)

5. การจัดลำดับการเรียนการสอน (Instruction List)

6. การกำหนดกรอบความรู้ของผู้สอนในการใช้เทคโนโลยี วิธีการสอนและเนื้อหา (TPACK Framework)

Implement Six of Blended Learning
ที่มา: อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561

ตัวอย่างการกำหนดกรอบความรู้ของผู้สอนในการใช้เทคโนโลยี วิธีการสอนและเนื้อหา (TPACK Framework)

ผู้เขียนทำการวิเคราะห์การกำหนดกรอบพิจารณาศักยภาพแนวทางการใช้เทคโนโลยี วิธีการสอน เนื้อหา ของผู้สอน (Assess Technological Pedagogical Content Knowledge) โดยการพิจารณาเลือกใช้ เนื้อหา วิธีการสอนและสื่อเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน จากหน่วยที่ 4 – 6 เพื่อการเก็บข้อมูลใน 14 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง รวมการทำกิจกรรมโครงงาน ทั้งหมดจำนวน 28 ชั่วโมง

โดยเน้นกิจกรรมให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และความแตกต่างในการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนมีความสนใจ และกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น

กรอบแนวทางการเรียนการสอนวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ (TPACK Framework)
ที่มา: อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561 หน้า 180

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: D1) การออกแบบและการพัฒนา (Design and Development: D & D)

การออกแบบ และการพัฒนา ผู้รายงานทำการวิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรม และวางกรอบแนวทางการเรียนการสอนวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ (TPACK Framework) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่ผู้รายงานได้พัฒนาขึ้น จากระยะที่ 1 โดยมีขั้นตอนการออกแบบ และการพัฒนาเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ

ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: R2) การนำไปใช้ (Implementation: I)

การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน (One – Group Pretest-Posttest Design) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538: 249) สำหรับเก็บข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง

แบบแผนการวิจัย
ที่มา: อนุศร หงษ์ขุนทด, 2561 หน้า 191

ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: D2) การประเมินผล (Evaluation: E)

การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใช้สถิติเพื่อการประเมินผลดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูล

1. ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และจัดกลุ่มข้อมูลตามประเด็นที่ต้องการศึกษา โดยการนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาวิเคราะห์ความถี่และจัดกลุ่ม (Qualitative themes) และแปลความหมายโดยใช้หลักการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning)

2. ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

ในการเขียนครั้งนี้เเพื่อเป้นแนวทางให้กับทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับแนวทางการเขียนรายงานวิจัย R&D ในระดับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ยังต้องมีการศึกษา และพัฒนาอีกมาก ต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมครับ

ยกตัวอย่างขั้นตอนการวางแผนการวิจัย (Research Planning)

การวางแผนการวิจัย (Research Planning) เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการวิจัยแบบ Research and Development (R&D) เพื่อให้สามารถดำเนินการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ผู้เขียนจะขอแนะนำขั้นตอนที่ควรคำนึงถึงในการวางแผนการวิจัย มีขั้นตอน ดังนี้

  1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Objectives) กำหนดเป้าหมายของการวิจัยอย่างชัดเจน ระบุว่าต้องการทำอะไร และคาดหวังผลลัพธ์ที่ควรที่จะได้รับ
  2. การกำหนดขอบเขต (Scope) กำหนดขอบเขตของงานวิจัย ระบุสิ่งที่จะรวมหรือไม่รวมในขอบเขตของโครงการวิจัย
  3. การกำหนดระยะเวลา (Timeline) กำหนดระยะเวลาที่จะใช้ในแต่ละขั้นตอนของงานวิจัย และวางแผนกำหนดเวลาการดำเนินการให้เหมาะสม
  4. การกำหนดทรัพยากร (Resources Allocation) กำหนดทรัพยากรที่จำเป็น เช่น งบประมาณ, บุคลากร, เทคโนโลยี, และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการวิจัย
  5. การระบุวิธีวิจัย (Research Methodology) ระบุวิธีหรือเทคนิคที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย รวมถึงการเก็บข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล, และวิธีการทดลอง
  6. การกำหนดค่าตัวแปร (Variables) ระบุตัวแปรที่ต้องการตรวจสอบและควบคุมในการวิจัย เพื่อให้สามารถทดสอบสมมติฐานหรือข้อสังเกตที่ตั้งไว้
  7. การสร้างแผนการดำเนินงาน (Work Plan) สร้างแผนการดำเนินงานที่เป็นระเบียบเพื่อกำหนดกิจกรรมและเป้าหมายการทำงานในแต่ละขั้นตอนของวิจัย
  8. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินงานวิจัย และวางแผนการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  9. การตรวจสอบและปรับปรุง (Review and Revision) ตรวจสอบและปรับปรุงแผนการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและเงื่อนไขการดำเนินงาน


แนวทางการวิจัยและพัฒนา (R&D) เป็นหัวข้อที่มีหลายด้านและมีความซับซ้อน ดังนั้นมีหลายหนังสือที่เกี่ยวข้องที่อาจเป็นประโยชน์สำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมครับ

“Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches” โดย John W. Creswell – เล่มนี้เป็นหนังสือที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่สนใจการออกแบบการวิจัยทั้งปริมาณและคุณภาพ

“Handbook of Research on Techno-Entrepreneurial Ecosystems” โดย François Thérin – เล่มนี้มุ่งเน้นที่การวิจัยในเชิงเทคโนโลยีและนักลงทุนที่มุ่งเน้นที่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

“Managing Innovation: Integrating Technological, Market, and Organizational Change” โดย Joe Tidd และ John Bessant – เล่มนี้เน้นที่การบริหารจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

“The Lean Startup: How Today’s Entrepreneurs Use Continuous Innovation to Create Radically Successful Businesses” โดย Eric Ries – เล่มนี้เน้นที่การใช้แนวคิด Lean Startup ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และธุรกิจใหม่

“Design Thinking: Integrating Innovation, Customer Experience, and Brand Value” โดย Thomas Lockwood – เล่มนี้เน้นที่การใช้ Design Thinking เพื่อสร้างนวัตกรรมและความสำเร็จในธุรกิจ

“Research and Development in the Academy, Creative Industries and Applications” โดย J. Michael Tarn และ Karla Straker – เล่มนี้สรุปภาพรวมของการวิจัยและพัฒนาในสถาบันการศึกษา, อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และการใช้งานในสาขาต่าง ๆ

หากท่านสนใจประเด็นนี่สามารถ ลงทะเบียนเข้ารับการพัฒนาได้ที่นี่ครับ

ท่านสามารถอ่านเอกสารและอ้างอิงได้จากที่นี่ครับ

อนุศร หงษ์ขุนทด. 2561. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ตามแนวคิดทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ ด้วยโครงงาน เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ออนไลน์: http://research.otepc.go.th/v_paper_journal_view.php?editid1=517

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!