fbpx
Digital Learning Classroom
ศึกษานิเทศก์

กรอบแนวคิดเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์

แชร์เรื่องนี้

กรอบแนวคิดเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์

จากคำถาม

ถ้าท่าน มีโอกาสได้ วางกรอบ แนวคิดเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ ท่านคิดว่าควรพัฒนาสิ่งใดบ้างโปรดเติมคำในช่องว่างที่ท่านต้องการ

ได้รับผลการตอบจากพี่น้องศึกษานิเทศก์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้คำตอบดังนี้

กรอบการทำงาน

  • ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ให้ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ
  • นำความรู้ความสามารถส่งเสริมสนับสนุนครู ไม่เพิ่มภาระงานให้สถานศึกษา
  • ศึกษานิเทศก์เป็นแบบอย่างและเป็นพี่เลี้ยงแก่ครูในการปฏิบัติงานตามนโยบายต่าง ๆ
  • มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับสถานศึกษา
  • ลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน

การพัฒนาวิชาชีพ

  • ส่งเสริมการเลื่อนตำแหน่ง วิทยฐานะ การรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เงินเดือน
  • ส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงานศึกษานิทเศก์ ด้วย การปรับหลักเกณฑ์ในการสอบสายบริหาร เช่น รองผอ.เขต / ผอ.เขตพื้นที่
  • ส่งเสริมการอบรมพัฒนาเพื่อเลื่อนตำแหน่งศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
  • ปรับหลักเกณฑ์ให้ครูเข้าสู่สายศึกษานิเทศก์ได้ง่ายขึ้น
  • วางมาตรฐานในการสรรหาบุคคลเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งศึกษานิเทศก์

สมรรถนะตามสายงาน

  • บทบาทหน้าที่ตามสมรรถนะวิชาชีพ
  • ส่งเสริมสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ในด้านการสร้างนวัตกรรมด้านการติดตามและนิเทศการศึกษา
  • ส่งเสริมมาตรฐานและทักษะตามสมรรถนะวิชาชีพของศึกษานิเทศก์
  • เป็นผู้นำทางวิชาการ
  • ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมด้านการนิเทศ
  • สร้างจรรยาบรรณ ความรักศรัทธาในวิชาชีพ

การบริหารงบประมาณ

  • จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ ช่วยเหลือศึกษานิเทศก์ที่ดูแลโรงเรียนขนาดเล็ก

สายการบริหารงาน

  • จัดตั้งหน่วยศึกษานิเทศก์ที่เป็นอิสระ มีผู้บังคับบัญชาจามสายงานที่มีความรู้ ความสามารถโดยตรง
  • จัดตั้งหน่วยงานที่ช่วยเหลือดูแลศึกษานิเทศก์อย่างเป็น รูปธรรม
  • เขตพื้นที่ควรให้การสนับสนุนศึกษานิเทศก์ได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง

แนวทางการจัดพัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์

  1. สร้างความเข้าใจเรื่องสมรรถนะการนิเทศการศึกษาให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายศึกษานิเทศก์ทุกระดับ
  2. การพัฒนาศึกษานิเทศก์ให้มีคุณลักษณะและมีความพร้อมที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษา
  3. สร้างเครือข่ายเพื่อเป็นกลไกการทำงานร่วมกันประสานเชื่อมโยงทุกระดับ

สนับสนุนให้ศึกษานิเทศก์ดำเนินงานนิเทศอย่างเป็นระบบ

แนวทางในการดำเนินงาน

1. พัฒนารูปแบบและเทคนิคการนิเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
2. พัฒนาศึกษานิเทศก์ให้ทันต่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี
3. พัฒนาเครือข่ายการนิเทศเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาจากส่วนกลาง
4. พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการนิเทศและการยกระดับคุณภาพการศึกษา
5. ใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการนิเทศและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
6. พัฒนาเทคนิคการนิเทศแบบ Reflective Coaching, Mentoring and Supporting & Research Based Supervision : RBS ให้ผู้นิเทศสามารถทำงานกับโรงเรียน และผู้เกี่ยวข้องได้อย่างกัลยาณมิตร

สมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์

ทักษะการสื่อสาร ศึกษานิเทศก์ควรมีทักษะการสื่อสารที่ดีทั้งในรูปแบบการพูด การเขียน และการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน รวมถึงการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์และสื่อสังคมออนไลน์

ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ ศึกษานิเทศก์ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการการเรียนรู้และวิธีการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และสนับสนุนการพัฒนาตนเองของนักเรียน

ความรู้ทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการศึกษานิเทศ ศึกษานิเทศก์ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและการเรียนรู้ เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และแอปพลิเคชันการศึกษา

ทักษะการวางแผนและการจัดการ การทำงานเป็นศึกษานิเทศก์บ่อยครั้งต้องเกี่ยวข้องกับการวางแผนและการจัดการโครงการ ศึกษานิเทศก์ควรมีความสามารถในการวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้และการสื่อสารในชุมชนการเรียนรู้

ความสามารถในการวิเคราะห์และประเมินผล ศึกษานิเทศก์ควรมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผลการศึกษา โดยใช้ข้อมูลเหล่านั้นในการปรับปรุงแผนการเรียนรู้และกิจกรรมการสื่อสารต่อไป

ความเป็นผู้นำและทีม ศึกษานิเทศก์ต้องมีความสามารถในการเป็นผู้นำและทำงานร่วมกับผู้อื่น เช่น ครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์และรอบคอบ

ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลิกภาพ ศึกษานิเทศก์ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการสื่อสารและการทำงานกับผู้เรียนและสังคมในที่สุด

ความอดทนและความยืดหยุ่น  ศึกษานิเทศก์ต้องมีความอดทนและความยืดหยุ่นในการจัดการกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาในสถานการณ์การศึกษา

การเรียนรู้ตลอดชีวิต ศึกษานิเทศก์ควรมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อที่จะปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในสาขาวิชาและการสื่อสาร

ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงออกและวัฒนธรรม ศึกษานิเทศก์ควรมีความเข้าใจในหลักการและวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการสื่อสารที่เหมาะสมในสถานการณ์ทางการศึกษาและชุมชนที่ต่างกัน

ที่มาของกิจกรรมนี้

 

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!