fbpx
Digital Learning Classroom
DPAPAวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยะฐานะ

แนวทางการยื่นขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ว 10/2564

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการยื่นขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ว 10/2564

คำชี้แจงการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ด้านที่ 1 และด้านที่ 2

มีองค์ประกอบการประเมิน ดังนี้

การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร คะแนนเต็ม 40 คะแนน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

(1) มุ่งผลลัพธ์ผู้เรียนเป็นสำคัญ

(2) มุ่งคุณภาพหลักสูตรและคุณาำพผู้เรียน

(3) มุ่งพัฒนาสมรรถนะของครู และผู้เรียน

(4) มุ่งพัฒนาครู โดยใช้ระบบให้คำปรึกษา ชี้แนะ

(5) มุ่งพัฒนาระบบและกระบวนการทำงาน

(6) มุ่งนวัตกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์

(7) มุ่งระดมทรัพยากร เครือข่าย และความร่วมมือ

(8) มุ่งสร้างภาวะผู้นำร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

(1) ผลงาน หรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา

(2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

(3) ผลงาน หรือผลการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพครูในสถานศึกษา

(4) ผลงาน หรือผลการปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

วิธีการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาสถานศึกษากลยทธุ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร โดยพิจารณาจาก

1) รายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาสถานศึกษากลยุทธ์

    • การใช้เครื่องมือ
    • หรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการ
    • หรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษา

ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งผู้ขอได้พัฒนาขึ้น และนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาจริงในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง หรือดำรงวิทยฐานะ
แล้วแต่กรณี

2) การนำเสนอการพัฒนาสถานศึกษากลยทธุ์

    • การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ตามโครงการ
    • หรือกิจกรรมในแผนพัฒนาสถานศึกษาที่เสนอในข้อ 1)
    • โดยแสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหาที่มา หรือแรงบันดาลใจ ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน
    • และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรม ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา

ทั้งนี้ ให้นำเสนอเป็นไฟล์วีดิทัศน์ตามรูปแบบที่ก.ค.ศ. กำหนด จำนวน 1 ไฟล์

แนวทางการเขียนรายงานตามแบบประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนพัฒนาสถานศึกษา กลยทธุ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร
เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา

แบบสรุปผลการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ด้านที่ 1 ด้านที่ 2

แนวทางการเตรียมการประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทาง วิชาการ

การประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทาง วิชาการสำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญและวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ มีองค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสินดังนี้

1. องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินและการให้คะแนน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน จำนวน 6 ตัวชี้วัด ดังนี้

ส่วนที่ 1 คุณภาพของผลงานทาง วิชาการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

1.1 ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (20 คะแนน)

1.2 ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ (15 คะแนน)

1) วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงการคิดค้น ปรับเปลี่ยนนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา และเป็นแบบอย่างที่ดี

2) วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ความคาดหวังในระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน วิทยฐานะ ต้องแสดงให้เห็นถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลง เผยแพร่และขยายผลในวง วิชาชีพ และเป็นแบบอย่างที่ดี

1.3 ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (10 คะแนน)

1.4 การจัดทำการพิมพ์ รูปเล่ม และการเผยแพร่ (5 คะแนน)

ส่วนที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทาง วิชาการ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)

2.1 ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครูบุคลากรทางการศึกษาสถานศึกษา และชุมชน

2.2 ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในวง วิชาชีพ ต้องสามารถปรับเปลี่ยน และสร้างการเปลี่ยนแปลงในวง วิชาการและวง วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับ

วิธีการประเมินผลงานทาง วิชาการ

ให้คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินด้านที่ 3 ด้านผลงานทาง วิชาการโดยพิจารณาประเมินตามองค์ประกอบข้อ 1

1) วิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทาง วิชาการซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาหรือนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ จำนวน 1 รายการในรูปแบบไฟล์ PDF

2) วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทาง วิชาการซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษาหรือนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน จำนวน 1 รายการในรูปแบบไฟล์ PDF

3) วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทาง วิชาการซึ่งเป็นผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาสถานศึกษา และนวัตกรรมการบริหารสถานศึกษา ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน จำนวนอย่างละ 1 รายการในรูปแบบไฟล์ PDF

โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ Thai – Journal Citation Index Centre (TCI) กลุ่ม 1 หรือกี่ลุ่ม 2 โดยให้ส่งบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบไฟล์ PDF ด้วย

เกณฑ์การตัดสิน

ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 สำหรับการขอเลื่อนี้เป็นวิทยฐานะรองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ

และผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ และไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 สำหรับการขอเลื่อนี้เป็นวิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญเชี่ยวชาญพิเศษ

แบบคำขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา (ทุกวิทยฐานะ)

การขอรับการประเมินในช่วงระยะเวลาเปลื่ยนผ่าน โดยใช้ผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์เดิมมารายงาน

มีแนวทางดังนี้

ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณสมบัติ และประสงค์ขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์ และวิธีการฯ ว 10/2564 ในช่วงระยะเวลาเปลื่ยนผ่านให้ยื่นคำขอต่อสถานศึกษา/หน่วยงานการศึกษา/ส่วนราชการแล้วแต่กรณี เพื่อนำ ข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ดังนี้

. การยื่นคำขอปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ( วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566)

กรณีผู้บริหารสถานศึกษาประสงค์จะนำผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 17/2552 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้รายงานผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้

1.  ให้คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามตัวชี้วัดที่กำหนดในคู่มือการประเมินฯ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯว 17/2552 ที่ได้กำหนดระดบคุณภาพไว้ 4 ระดับ คือ ระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และระดับ 1 และให้แปลค่าระดับคุณภาพที่ได้เป็นคะแนนตามที่ก.ค.ศ. กำหนดไว้ในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ศธ 0206.3/0522 – 0524 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564

      • โดยเปรียบเทียบผลการพัฒนาในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ปีการศึกษา 2562 กับ ปีการศึกษา 2563 ทั้งนี้ เกณฑ์การตัดสินผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ในแต่ละวิทยฐานะ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว

2. นำผลการประเมินตามข้อ 1 มานับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ที่ผ่านเกณฑ์ ตามที่ก.ค.ศ. กำหนดและสรุปคะแนนที่ได้ในแบบรายงานผลการประเมิน ดังนี้

ข้อที่สำคัญได้แก่ ข้อที่ 9

ท่านใดที่พร้อมข้อที่ 9.1 หมายถึง ท่านสามารถส่งได้ไม่เกิน 30 กันยายน 2566 ท่านต้องเตรียม ว17/2552 ก.ค.ศ. 3/2 ปี 2562-2563) ร่วมกับผลการประเมินการปฏิบัติงาน PA ปี 2565 ครับ

9.1 การยื่นคำขอในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ( วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566)

กรณีผู้บริหารสถานศึกษาประสงค์จะนำผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการฯ ว 17/2552 มารายงาน เพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้รายงานผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้

ข. การยื่นคำขอในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ( วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567)

กรณีผู้บริหารสถานศึกษาประสงค์จะนำผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 17/2552 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้รายงานผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้

1. ให้คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามตัวชี้วัดที่กำหนดในคู่มือการประเมินฯ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯว 17/2552 ที่ได้กำหนดระดบคุณภาพไว้ 4 ระดับ คือระดับ 4 ระดับ 3 ระดับ 2 และระดับ 1 และให้แปลค่าระดับคุณภาพที่ได้เป็นคะแนนตามที่ก.ค.ศ. กำหนดไว้ในหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ศธ 0206.3/0522 – 0524 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2564

    • โดยเปรียบเทียบผลการพัฒนาในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ปีการศึกษา 2562 กับ ปีการศึกษา 2563

ทั้งนี้ เกณฑ์การตัดสินผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ในแต่ละวิทยฐานะ ให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว

2. นำผลการประเมินตามข้อ 1 มานับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ที่ผ่านเกณฑ์ ตามที่ก.ค.ศ. กำหนด และสรุปคะแนนที่ได้ในแบบรายงานผลการประเมิน ดังนี้

9.2 การยื่นคำขอในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ( วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567)

ท่านใดที่พร้อมข้อที่ 9.2 หมายถึง ท่านสามารถส่งได้ 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567 ท่านต้องเตรียม ว17/2552 ก.ค.ศ. 3/2 ปี 2562-2563) ร่วมกับผลการประเมินการปฏิบัติงาน PA ปี 2565-2566 ครับ

กรณีผู้บริหารสถานศึกษาประสงค์จะนำผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา (ด้านที่ 3 หรือด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 แล้วแต่กรณี) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 17/2552 มารายงานเพื่อนับรวมกับผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้รายงานผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา และผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ดังนี้

ที่มา: ว10/2564 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!