fbpx
Digital Learning Classroom
การพัฒนาผู้เรียนกิจกรรมการสอนนโยบายการศึกษา

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน

แชร์เรื่องนี้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน

การจัดการเรียนรู้  ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน ได้พัฒนาขึ้นจากการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา (กรมวิชาการ, 2540)   โดยมีรายละเอียด  ดังนี้  

กรณีศึกษา (Case study) หมายถึง การศึกษาแบบเจาะลึกในประเด็นปัญหาเฉพาะเรื่องในชุมชน ผู้ศึกษาควรจะทำความเข้าใจสาเหตุ / ปัจจัยของปัญหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยอาศัยกระบวนการอย่างมีระบบ และ มีการบูรณาการร่วมกันของข้อมูลจากหลายแหล่ง”

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีกรณีศึกษา หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้/ประสบการณ์ ที่พัฒนาผู้เรียน ให้มีทักษะในการสืบเสาะ ค้นหา ข้อมูลความรู้ ในปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่ใกล้ตัวเด็ก  ในชุมชน อย่างรอบด้าน เพื่อสร้างความเข้าใจในสาเหตุและผลกระทบของปัญหานั้น ๆ อย่างท่องแท้   อันนำไปสู่การศึกษา พัฒนา คิดค้นวิธี วางแผน และลงมือแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ร่วมกับบุคคลอื่น ที่เกี่ยวข้อง โดยการปฏิบัติจริง”การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีกรณีศึกษา” ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1  การศึกษาชุมชน

ขั้นที่ 2  การศึกษาปัญหาเชิงลึก

ขั้นที่ 3  การนำเสนอปัญหาต่อผู้ชุมชน

ขั้นที่ 4  การศึกษาทางเลือกในการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 5  การวางแผนงาน/โครงการแก้ปัญหา

ขั้นที่ 6  การลงมือปฏิบัติการตามแผนงาน/โครงการ

ขั้นที่ 7  ติดตาม ประเมินผล และชื่นชมความสำเร็จและแนวทางการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

กรอบการจัดกิจกรรรมการเรียนรู้ ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 การศึกษาชุมชน (ศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนทั้งอดีตและปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง)

ขั้นที่ 1 การศึกษาชุมชน (ศึกษาสภาพทั่วไปของชุมชนทั้งอดีตและปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง)
ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา(contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
 กระบวนการศึกษาชุมชนเป็นการพัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นมาสภาพปัจจุบันปัญหาของชุมชนอันจะนำไปสู่ความรักและความภาคภูมิใจในชุมชน ตลอดจนเกิดความตระหนักในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของชุมชนของตนเอง– ความสำคัญของการศึกษาชุมชน
– แหล่งเรียนรู้และข้อมูลในชุมชน
– สภาพชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
– การเปลี่ยนแปลงของชุมชน สาเหตุ  และผลกระทบที่เกิดขึ้น
– ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมีอะไร มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างไร
– เกณฑ์ในการคัดเลือกปัญหาที่ศึกษา 
– มีทักษะการตั้งคำถาม
– มีทักษะเขียนเรียบเรียงข้อมูล
– มีทักษะในการสืบค้นข้อมูลของชุมชน
– สร้างความรู้ความเข้าใจในสภาพความปัญหาของชุมชน
– วิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนเพื่อระบุปัญหาที่เกิดในชุมชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
– กำหนดเกณฑ์และตัดสินใจเลือกประเด็นปัญหาที่ศึกษาอย่างรอบด้าน
– เกิดความรักและความภาคภูมิใจในชุมชน

ขั้นที่ 2 ศึกษาปัญหาเชิงลึก (การหาสาเหตุและผลกระทบ)

ขั้นที่ 2 ศึกษาปัญหาเชิงลึก (การหาสาเหตุและผลกระทบ)
ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา(contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุหลายสาเหตุ จึงต้องศึกษาค้นคว้าให้รู้และเข้าใจถึงปัญหานั้นอย่างถ่องแท้ รวมถึงผลกระทบที่เกิดในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้าน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกประเด็น– การวางแผนการศึกษาข้อมูลปัญหาชุมชน
– สภาพของปัญหา และความเป็นมาของปัญหา
– สาแหตุและผลกระทบของปัญหา
– แนวทางการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น
– มีทักษะการวางแผนและ
การทำงานร่วมกัน
– สร้างความรู้และเข้าใจสภาพปัญหาเกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้น
– วิเคราะห์ถึงสาเหตุและผลกระทบของปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้
– มีวิจารณญาณในการตัดสินใจ 
คิดอย่างมีเหตุผล

ขั้นที่ 3 การนำเสนอปัญหาต่อชุมชน (เสนอข้อค้นพบ ผ่านการคิดวิเคราะห์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง)

ขั้นที่ 3 การนำเสนอปัญหาต่อชุมชน (เสนอข้อค้นพบ ผ่านการคิดวิเคราะห์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง)
ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา (contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
การนำเสนอข้อมูลพื้นฐานของชุมชนด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม จะทำให้ชุมชนและที่เกี่ยวข้องเข้าใจถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองอันจะนำไปสู่การสร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน– ความสำคัญของการนำเสนอ และการนำเสนอที่ดีเป็นอย่างไร เพื่ออะไร
– ประเด็น/เรื่องที่นำเสนอคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
– รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ เช่น การพูด การแสดง 
– ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขการทำงานและการนำเสนอข้อมูล
– สร้างความรู้ความเข้าใจในขอบข่าย/สาระที่ตนเองต้องการนำเสนอ
– สร้างความรู้ความเข้าใจรูปแบบและวิธีการนำเสนอข้อค้นพบต่อชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง
– มีทักษะในการนำเสนอข้อค้นพบต่อผู้เกี่ยวข้อง
– เพื่อให้ผู้เรียน ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญ และร่วมมือในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 4 ศึกษาทางเลือกในการแก้ปัญหา (ศึกษาทางเลือกและประเมินทางเลือกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน)

ขั้นที่ 4 ศึกษาทางเลือกในการแก้ปัญหา (ศึกษาทางเลือกและประเมินทางเลือกที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน)

ขั้นที่ 5 การวางแผนงาน/โครงการในการแก้ปัญหา
ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา (contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
การศึกษาทางเลือกเป็นการแสวงหาแนวทางที่หลากหลาย ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ว่าทุกปัญหามีทางแก้ไขได้หลายแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาจึงควรศึกษาและเลือกวิธีการที่เหมาะสม และผลกระทบน้อยที่สุด– แหล่งเรียนรู้และข้อมูลในการศึกษาค้นคว้าวิธีการแก้ปัญหา 
– ประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา
– การสืบค้นข้อมูล
– มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาที่ศึกษา และวิธีการศึกษาและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา
– มีทักษะในการสืบค้นข้อมูลในระบInternet
– สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาได้
– เลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและมีผลกระทบน้อยที่สุด

ขั้นที่ 5 การวางแผนงาน/โครงการในการแก้ปัญหา

ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา (contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
การวางแผนงาน โครงการแก้ปัญหาเป็นการคิดเตรียมการก่อนการลงมือปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบโดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ ขอบข่ายงาน ขั้นตอนวิธีการทำงาน วัสดุ เวลาและสถานที่ ผู้รับผิดชอบตลอดจนสภาพความสำเร็จของการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จได้ ทำให้ผู้เรียนรู้จักคิดวางแผนก่อนทำงานใดๆ จนเป็นนิสัย– ความสำคัญของแผนงานและโครงกร
– กระบวนการทำงานที่ได้มาซึ่งโครงการที่เป็นความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่าย
– วิธีเขียนโครงการ
– มีความรู้และเข้าใจองค์ประกอบของแผน  โครงกรและสามารถคิดวางแผนงาน / โครงการได้
– เขียนแผนงาน/โครงการแก้ปัญหา
– คิดอย่างเป็นระบบ มีวิจารณญาณ และ เป็นคนรอบคอบ

ขั้นที่ 6 การลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาตามแผนงาน /โครงการ

ขั้นที่ 6 การลงมือปฏิบัติการแก้ปัญหาตามแผนงาน /โครงการ
ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา (contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
การปฏิบัติงานตามแผนงานตามแผนงานเป็นการลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ  ตามขั้นตอนในแผนงาน / โครงการ ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะมีผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงได้เรียนรู้ถึงขั้นตอน / วิธีการของการทำงานมีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตามภาวการณ์ เป็นผู้นำ และเป็นสมาชิกทีมที่ดี มีนิสัยรักการทำงาน และสามารถแก้ไขปัญหาขณะปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม– วิธีการกำกับติดตาม
– วิธีการประเมินผลการทำงาน
– การบันทึกและเก็บรวบรวมข้อมูล
– การเป็นผู้นำและทำงานเป็นทีม
– การปรับปรุงแก้ไขและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
– มีความรู้และเข้าใจในวิธีการ / ขั้นตอนของการทำงานจากการปฏิบัติจริง
– มีทักษะการทำงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มีคุณลักษณะที่ดีในการทำงาน เช่น มีความรับผิดชอบ ขยัน มุ่งมั่น อดทน เพียรพยายาม
– แก้ไขปัญหา / อุปสรรคขณะปฏิบัติงานได้

ขั้นที่ 7 ติดตาม ประเมินผล  และชื่นชมความสำเร็จและแนวทางในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง

ขั้นที่ 7 ติดตาม ประเมินผล  และชื่นชมความสำเร็จและแนวทางในการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง
ความคิดรวบยอด (concept)เนื้อหา (contents)ผลการเรียนรู้ (Learning achievement)
การประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน / โครงการ เป็นประเมินผลการปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดเพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานครั้งต่อไป และทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา มีใจกว้างยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ ความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลเกิดความภาคภูมิใจผลงานและเห็นคุณค่าของตนเอง– วิธีการประเมินโครงการ และการสรุปผลการดำเนินงาน
– การเขียนและสรุปรายงาน
– การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback)
– การสะท้อนคิด (Reflection) 
– มีความรู้และเข้าใจวิธีการ
– ประเมินผลมาปฏิบัติงานประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน /โครงการ
– วิเคราะห์และสรุปผลการประเมินผล แผนงาน /โครงการ
– จัดทำรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานได้
– เกิดความภาคภูมิใจในผลงานและเห็นคุณค่าของตนเอง
กรอบคิด โมเดลว่าว (The Kite Model) ที่มา: Campbell, David & Olson, and Jennifer, 1991

กรอบคิด โมเดลว่าว (The Kite Model) ได้นำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหา และเพื่อกำหนดนโยบายที่เป็นเชิงแก้ไขปัญหา รวมถึงการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ และการประเมินผล ที่มีมุมมองถึงปฏิสัมพันธ์โดยรวมระหว่างสังคม และสิ่งแวดล้อม (กรมวิชาการ, 2540) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยมีความเกี่ยวโยงกับการเมืองการปกครอง เช่น ในการวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อม จะตั้งคำถามเรื่องอำนาจเพื่อทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ใครเป็นผู้ควบคุมการใช้ทรัพยากรป่าไม้ ที่ดิน แหล่งน้ำ ฯลฯ และรูปแบบการควบคุมดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร การวิเคราะห์ทางเลือกนโยบายในอนาคตจะต้องพิจารณาประเด็นเรื่องโครงสร้างอำนาจการปกครองทั้งในแง่สนับสนุนนโยบายที่เลือก และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากนโยบายต่อโครงสร้างอำนาจในอนาคต (Campbell, David & Olson, and Jennifer, 1991) 

ที่มา: Campbell, David & Misana, Salome & Olson, Jennifer. (2004)

อ้างอิง

Campbell, David & Misana, Salome & Olson, Jennifer. (2004). Comparing the Kenyan and Tanzanian Slopes of Mt. Kilimanjaro: Why are the adjacent land uses so distinct? Campbell LUCID WP 44.

เอกสารเพิ่มเติม

https://drive.google.com/drive/folders/1SfkVcDPD2kdbC0j5wiRN7B_5vrgpg8HG?usp=sharing

ที่มา: “ตรีนุช” ขานรับ “บิ๊กตู่” ขยายผลการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยวิธีกรณีศึกษา 7 ขั้นตอน

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!