fbpx
Digital Learning Classroom
Active Learningวิทยฐานะเชี่ยวชาญวิทยะฐานะ

แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับ ระบบ DPA

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับ ระบบ DPA

การประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์กำหนดให้มีการประเมิน 2 ด้าน 

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

โดยจำแนกออกเป็น 5 ห้องเรียน มีองค์ประกอบการประเมิน เกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้ 

1. ห้องเรียนของผู้ขอรับการประเมิน แบ่งเป็น 5 ห้องเรียน ดังนี้

1.1 ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

1.2 ห้องเรียนปฐมวัย

1.3 ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

1.4 ห้องเรียนสายวิชาชีพ

1.5 ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

2. องค์ประกอบการประเมิน

การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

การประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross functional Skills)ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

3. เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric) 

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน 

1 คะแนนเมื่อปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ได้ 1 ข้อ
2 คะแนนเมื่อปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ได้ 2 ข้อ
3 คะแนนเมื่อปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ได้ทั้ง 3 ข้อ
4 คะแนน  เมื่อปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ได้ทั้ง 3 ข้อ
และปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 4 หรือ ข้อ 5 ได้ 1 ข้อ
5 คะแนน  เมื่อปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 1 ถึง ข้อ 3 ได้ทั้ง 3 ข้อ
และปรากฏชัดเจนว่าสามารถปฏิบัติตามข้อ 4 และ ข้อ 5 ได้ทั้ง 2 ข้อ

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

1 คะแนนเมื่อปฏิบัติได้หรือปรากฏผลชัดเจน 1 ข้อ จาก 5 ข้อ
2 คะแนนเมื่อปฏิบัติได้หรือปรากฏผลชัดเจน 2 ข้อ จาก 5 ข้อ
3 คะแนนเมื่อปฏิบัติได้หรือปรากฏผลชัดเจน 3 ข้อ จาก 5 ข้อ
4 คะแนนเมื่อปฏิบัติได้หรือปรากฏผลชัดเจน 4 ข้อ จาก 5 ข้อ
5 คะแนนเมื่อปฏิบัติได้หรือปรากฏผลชัดเจนทั้ง 5 ข้อ

4. วิธีการประเมินเพื่อขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน

ให้คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน โดยพิจารณาจาก

1) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้จัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน ในวิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งผู้ขอได้จัดทำขึ้นและนำไปใช้สอนจริงในช่วงที่ดำรงตำแหน่งครูหรือดำรงวิทยฐานะ แล้วแต่กรณี

2) ไฟล์วีดิทัศน์ จำนวน 2 ไฟล์ ประกอบด้วย

(1) ไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอนที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการประเมิน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอตามข้อ 1) โดยมีรูปแบบตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

(2) ไฟล์วีดิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ตามข้อ 1)

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ให้คณะกรรมการประเมินดำเนินการประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยพิจารณาจาก ผลงานหรือผลการปฏิบัติของผู้เรียน ที่ปรากฏภายหลังจากการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน ตามไฟล์วีดิทัศน์บันทึกการสอน ที่เสนอไว้ในด้านที่ 1 โดยให้นำเสนอในรูปแบบไฟล์ดิจิทัล เช่น ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์ภาพ หรือไฟล์ PDF

5. เกณฑ์การตัดสิน

ผู้ผ่านการประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะต้องได้คะแนน ดังนี้

วิทยฐานะครูชำนาญการ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65

วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อทำคะแนนให้ได้คามเกณฑ์

แนวทางในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้ได้คะแนน ควรเน้นให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ปรากฏในแผน และในคลิปการสอนให้ได้มากที่สุด ดังนี้

แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน (5 คะแนน)

1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้องและตรงตามหลักสูตร  (1X2.5 คะแนน)

2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม (1X2.5 คะแนน)

3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ของบทเรียน (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียน (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ (5 คะแนน)

1) มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ (1X2.5 คะแนน)
2) มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ (1X2.5 คะแนน)
3) มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอ ที่จะเชื่อมโยงกับการ เรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ (1X2.5 คะแนน) 
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิม กับการเรียนรู้ใหม่ (1X2.5 คะแนน)
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ (5 คะแนน)

 1) ออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพ และบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน (1X2.5 คะแนน)

2) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย (1X2.5 คะแนน)

3) ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือสร้างประสบการณ์ใหม่ (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ (5 คะแนน)

1) กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

2) วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

3) ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลว ที่เกิดขึ้น (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ของผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้ (5 คะแนน)

1) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (1X2.5 คะแนน)

2) ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ (1X2.5 คะแนน)

3) ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์ หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ ของผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ (5 คะแนน)

1) มีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน ในระหว่างการเรียนรู้ (1X2.5 คะแนน)

2) มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ (1X2.5 คะแนน)

3) มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้จากข้อมูลสะท้อนกลับของครู (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม (5 คะแนน)

1) ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน (1X2.5 คะแนน)

2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง (1X2.5 คะแนน)

3) ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย และกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถ กำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง (5 คะแนน)

1) ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ (1X2.5 คะแนน)

2) ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียน (1X2.5 คะแนน)

3) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่อง เพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน (1X2.5 คะแนน)

4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกำกับการเรียนรู้ และการเรียนรู้ แบบนำตนเองของผู้เรียน (1X2.5 คะแนน)

5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) (1X2.5 คะแนน)

แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเปนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู (5 คะแนน)

1) เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในแผน การจัดการเรียนรู้ (1X5 คะแนน)

2) เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน (1X5 คะแนน)

3) สอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน (1X5 คะแนน)

4) เกิดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียน ไม่ใช่ผลงานหรือผลการปฏิบัติของครู (1X5 คะแนน)

5) เหมาะสม คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน (1X5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน (5 คะแนน)

1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ (1X5 คะแนน)

2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ (1X5 คะแนน)

3) ทักษะการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการเรียน หรือการฝึก (1X5 คะแนน)

4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ (1X5 คะแนน)

5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน (1X5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนความสามารถ ในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน (5 คะแนน)

1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ (1X5 คะแนน)

2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม (1X5 คะแนน)

3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ (1X5 คะแนน)

4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ (1X5 คะแนน)

5) กระบวนการคิดเชิงระบบ (1X5 คะแนน)

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – functional Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน (5 คะแนน)

1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเองการทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด (1X5 คะแนน)

2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น (1X5 คะแนน)

3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน (1X5 คะแนน)

4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะ ทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ (1X5 คะแนน)

5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อน หลายระดับ (1X5 คะแนน)

แบบสรุปผลการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ด้านที่ 1 และ ด้านที่ 2 (ท่านจะได้ค่าคะแนนดังนี้)

การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

(3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

(4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

(5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

(6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

(7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

(8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

 

ผลการประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน จะต้องได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

ผู้ผ่านการประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน  จะต้องได้คะแนน ดังนี้

วิทยฐานะครูชำนาญการ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65

วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

ตัวชี้วัดทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน  ด้านที่ 1คะแนน คะแนนวงน้ำหนัก  (คะแนน x 2.5) 
ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน512.5
ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่512.5
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้512.5
ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้512.5
ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้512.5
ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้512.5
ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม512.5
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถ กำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง512.5
รวม40100

ผลการประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน จะต้องได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้

ผู้ผ่านการประเมินด้านที่ 2 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน  จะต้องได้คะแนน ดังนี้

วิทยฐานะครูชำนาญการ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65

วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 75

วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 80

ตัวชี้วัดผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน  ด้านที่ 2คะแนน คะแนนวงน้ำหนัก  (คะแนน x 5
ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน520
ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่520
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้520
ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้520
รวม40100

โดยครูควรออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเชิงรุก (Active base Learning) ให้ได้มากที่สุดดังนี้

ตัวอย่างการเขียนแผนการจัดการเรียรู้

แผนการจัดการเรียนรู้ที่…………..

หน่วยการเรียนรู้ที่ …………………………………………….. เรื่อง ………………………………………………………………..

รหัสวิชา…………………..  รายวิชา ……………………………….      กลุ่มสาระการเรียนรู้……………………………………..

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่………                                                   ภาคเรียนที่ …………………………………………………

เวลา……………..ชั่วโมง                                                      ครูผู้สอน……………………………………………………..

________________________________________________________________________________

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด/ ผลการเรียนรู้ (สำหรับรายวิชาเพิ่มเติม)

มาตรฐานการเรียนรู้

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ตัวชี้วัด

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

2. สาระสำคัญ (ชื่อ concept, ความหมาย และตัวอย่างประกอบ)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

   3.1 ความรู้ (Knowledge: K)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

   3.2 ทักษะ (Skill: S)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

    3.3 เจตคติ/คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute / Attitude: A)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4. ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน/ร่องรอยแสดงความรู้)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

5. กระบวนการเรียนรู้ (60 นาที)

ขั้นปฐมนิเทศและเร้าความสนใจ (Poll) (5 นาที)

    1. ……………………………………………………………………………………………………………………………………       
    2. ……………………………………………………………………………………………………………………………………

ขั้นดำเนินการจัดการเรียนรู้ (Lecture: 10 นาที)

    1. …………………………………………………………………………………………………………………..
    2. …………………………………………………………………………………………………………………..

ขั้นปฏิบัติงานกลุ่ม (Active Learning: 15 นาที)

    1. …………………………………………………………………………………………………………………..
    2. …………………………………………………………………………………………………………………..

ขั้นสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน (Active Learning: 15 นาที)

    1. …………………………………………………………………………………………………………………..
    2. ……………………………………………………………………………………………………………………

ขั้นประเมินผล (Active Learning: 10 นาที)

    1. …………………………………………………………………………………………………………………..
    2. ……………………………………………………………………………………………………………………

ขั้นสรุปกิจกรรม (Discussion: 5 นาที)

    1. …………………………………………………………………………………………………………………..
    2. …………………………………………………………………………………………………………………..

6. สื่อการสอน

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

7. แหล่งเรียนรู้ในหรือนอกสถานที่

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

8. การประเมิน (อาจใช้การนำเสนอวิธีการวัดและประเมินผลในรูปแบบตาราง หรือรูปแบบอื่นๆ ก็ได้)

   8.1 วิธีการวัดและประเมินผล

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

    8.2 เครื่องมือ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………  

   8.3 เกณฑ์การประเมิน

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

9. กิจกรรมเสนอแนะ

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

10. บันทึกผลหลังการสอน (แก้ไขรูปแบบการบันทึกตามความเหมาะสมของท่าน)

สรุปผลการจัดการเรียนรู้

       1) นักเรียนจำนวน ……………………………….คน

              ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ ……………….  คน       คิดเป็นร้อยละ …………………………………………..

              ไม่ผ่านจุดประสงค์ …………………………..คน        คิดเป็นร้อยละ ………………………………………….

             ได้แก่

    1. …………………………………………………………………………………………………………………………
    2. ………………………………………………………………………………………………………………………….

          นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ/นักเรียนพิการได้แก่

    1. …………………………………………………………………………………………………………………………..
    2. …………………………………………………………………………………………………………………………..

2) นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ (Knowledge: K) นักเรียนจำนวน ………คน คิดเป็นร้อยละ …………..

   คำอธิบายเพิ่มเติม………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3) นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (Skill: S) นักเรียนจำนวน ………คน คิดเป็นร้อยละ …………..

คำอธิบายเพิ่มเติม…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

          4) นักเรียนมีเจตคติ/คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (Attribute / Attitude: A) นักเรียนจำนวน ………คน คิดเป็นร้อยละ …………..

คำอธิบายเพิ่มเติม…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

สรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (ให้ทำการสรุปด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเกิดจาการสอนของครูได้อย่างไร)

 1) ผลงาน หรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู

(ให้ทำการสรุปผลการจัดการเรียนรู้ตามประเด็น ดังนี้

1) เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในแผนการจัดการเรียนรู้

2) เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน

3) สอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน

4) เกิดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียน ไม่ใช่ผลงานหรือผลการปฏิบัติของครู

และ5) เหมาะสม คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

(ให้ทำการสรุปผลการจัดการเรียนรู้ตามประเด็น ดังนี้

1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ

2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ

3) ทักษะการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการเรียน หรือการฝึก

4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ

และ5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

(ให้ทำการสรุปผลการจัดการเรียนรู้ตามประเด็น ดังนี้

1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ

2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม

3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ

4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ

และ5) กระบวนการคิดเชิงระบบ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

4) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

(ให้ทำการสรุปผลการจัดการเรียนรู้ตามประเด็น ดังนี้

1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเองการทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด

2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น

3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน

4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้

และ5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อนหลายระดับ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

11. ปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข

1) ผลการแก้ปัญหาผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้อง และตรงตามหลักสูตร

2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม 

และ3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบทเรียน)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

2) ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ 

2) มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ 

และ3) มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอ ที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือสร้างประสบการณ์ใหม่ รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) ออกแบบงาน หรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพ และบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน

2) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย

และ3) ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ของผู้เรียน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน

2) วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียน

และ3) ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ ของผู้เรียนรวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

2) ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่างลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้

และ3) ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์ หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้จากข้อมูลสะท้อนกลับของครูวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) มีการสังเกต หรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้

2) มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ

และ3) มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

  7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนาารเรียนรู้ของผู้เรียน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน

2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง

และ3) ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลายละกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบจากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

  8) ผู้เรียนสามารถ กำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

(สรุปผลโดยบันทึกหลังการสอนแสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกำกับการเรียนรู้ละการเรียนรู้ แบบนำตนเองของผู้เรียน รวมถึงแสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน โดยชี้ให้เห็นตามประเด็นดังนี้

1) ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ

2) ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียน

และ3) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่องเพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

12. เสนอแนะ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

ลงชื่อ……………………………………………….

      ( …………………………………………..)

      ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ …………………………………………..

 

ดาว์นโหลดไฟล์Word ได้ที่นี่

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!