fbpx
Digital Learning Classroom
การประเมินคุณภาพภายนอก

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

แชร์เรื่องนี้

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

เอกสารหมายเลข 3

ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย แนบท้ายประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา

ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วยการจัดการศึกษา 3 ประเภท ได้แก่ 1) การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การศึกษาต่อเนื่อง และ 3) การศึกษาตามอัธยาศัย โดยแต่ละประเภทมีจำนวน 3 มาตรฐาน 7 ตัวชี้วัด ซึ่งมาตรฐานที่ 3 เป็นตัวชี้วัดร่วมของทุกประเภท ดังนี้

การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (1 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 1.1 การนำผลที่ได้รับจากการจัดการศึกษาของสถานศึกษาไปใช้ในการดำเนินชีวิต ของผู้สำเร็จการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำอธิบาย

ผู้สำเร็จการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการนำความรู้ ความสามารถ หรือทักษะที่ได้รับจากการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (1 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 2.1 การพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อใช้ในการจัดการศึกษา นอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายสอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาและความต้องการของผู้เรียน มีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการให้คำแนะนำ ปรึกษา หรือช่วยเหลือผู้เรียนที่เป็นการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้หรือแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียน รวมถึงมีการกำหนด แนวทางการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ หรือคุณลักษณะเป็นไปตามจุดหมายของหลักสูตรสถานศึกษาที่กำหนดไว้

มาตรฐานที่ 3 คุณภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา (5 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 3.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเพื่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาจัดให้มีการกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานที่มีความเชื่อมั่น ว่าจะใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานและจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะส่งผลให้สถานศึกษา มีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดที่ 3.2 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะเป็นผู้นำในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร ภายในสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการทำงานเป็นหมู่คณะ นำไปสู่การดำเนินงานจนส่งผล ให้สถานศึกษามีผลการดำเนินงานที่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งก่อนมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงพัฒนาตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรม และรายงาน ผลการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 3.3 การพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทุกคนของสถานศึกษาให้ได้รับ การพัฒนาศักยภาพสำหรับนำมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาหรือปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดที่ 3.4 การบริหารจัดการทรัพยากรและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการบริหารจัดการทรัพยากรและสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ครอบคลุมภารกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป

ตัวชี้วัดที่ 3.5 การสร้างความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับภาคีเครือข่ายในการเข้ามาร่วม จัดการศึกษาของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีภาคีเครือข่าย ได้แก่ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมถึงสถานศึกษาอื่น เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

การศึกษาต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาต่อเนื่อง (1 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 1.1 การนำผลที่ได้รับจากการจัดการศึกษาของสถานศึกษาไปใช้ในการดำเนินชีวิต ของผู้สำเร็จการศึกษาต่อเนื่อง

คำอธิบาย

ผู้สำเร็จการศึกษาต่อเนื่องมีการนำความรู้ ความสามารถ หรือทักษะที่ได้รับจากการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษาต่อเนื่อง (1 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 2.1 การพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการศึกษาต่อเนื่อง

คำอธิบาย

สถานศึกษามีหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความจำเป็น ของกลุ่มเป้าหมาย หรือเป็นไปตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด สำหรับนำไปใช้ในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง โดยใช้วิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ตรงตามหลักสูตร มีการใช้สื่อการเรียนรู้ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาต่อเนื่อง มีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการ ของผู้เรียน จัดให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และมีการให้คำแนะนำ ปรึกษา หรือช่วยเหลือผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน

มาตรฐานที่ 3 คุณภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา (5 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 3.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเพื่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาจัดให้มีการกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานที่มีความเชื่อมั่น ว่าจะใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานและจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะส่งผลให้สถานศึกษา มีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดที่ 3.2 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะเป็นผู้นำในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร ภายในสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการทำงานเป็นหมู่คณะ นำไปสู่การดำเนินงานจนส่งผล ให้สถานศึกษามีผลการดำเนินงานที่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งก่อนมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงพัฒนาตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรม และรายงาน ผลการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 3.3 การพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทุกคนของสถานศึกษาให้ได้รับ การพัฒนาศักยภาพ สำหรับนำมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาหรือปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดที่ 3.4 การบริหารจัดการทรัพยากรและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการบริหารจัดการทรัพยากรและสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ครอบคลุมภารกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป

ตัวชี้วัดที่ 3.5 การสร้างความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับภาคีเครือข่ายในการเข้ามาร่วม จัดการศึกษาของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีภาคีเครือข่าย ได้แก่ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมถึงสถานศึกษาอื่น เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

การศึกษาตามอัธยาศัย

มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัย (1 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 1.1 ผลการจัดการศึกษาที่ผู้รับบริการได้รับจากการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยของสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้รับบริการการศึกษาตามอัธยาศัยมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในโครงการ กิจกรรมเพื่อการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดขึ้น

มาตรฐานที่ 2 คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย (1 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 2.1 การพัฒนาโครงการ กิจกรรม สื่อการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

คำอธิบาย

สถานศึกษามีโครงการ กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความจำเป็นของกลุ่มเป้าหมาย หรือเป็นไปตามนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด สำหรับนำไปใช้ ในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย โดยผู้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้ และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย รวมถึงมีการให้คำแนะนำ ปรึกษาให้แก่ผู้รับบริการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้จนส่งผลให้มีผลการดำเนินงานที่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยที่กำหนดไว้

มาตรฐานที่ 3 คุณภาพการบริหารจัดการของสถานศึกษา (5 ตัวชี้วัด)

ตัวชี้วัดที่ 3.1 การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และอัตลักษณ์ของสถานศึกษาเพื่อการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษาจัดให้มีการกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานที่มีความเชื่อมั่น ว่าจะใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานและจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะส่งผลให้สถานศึกษา มีผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดที่ 3.2 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสถานศึกษา

คำอธิบาย

ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะเป็นผู้นำในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร ภายในสถานศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการทำงานเป็นหมู่คณะ นำไปสู่การดำเนินงานจนส่งผล ให้สถานศึกษามีผลการดำเนินงานที่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการนำผลการประเมินคุณภาพภายนอกครั้งก่อนมาเป็นส่วนหนึ่งในการปรับปรุงพัฒนาตามข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรม และรายงาน ผลการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ตัวชี้วัดที่ 3.3 การพัฒนาครูและบุคลากรของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุนครูและบุคลากรทุกคนของสถานศึกษาให้ได้รับ การพัฒนาศักยภาพสำหรับนำมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาหรือปฏิบัติงาน

ตัวชี้วัดที่ 3.4 การบริหารจัดการทรัพยากรและสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีการบริหารจัดการทรัพยากรและสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ครอบคลุมภารกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป

ตัวชี้วัดที่ 3.5 การสร้างความสัมพันธ์ของสถานศึกษากับภาคีเครือข่ายในการเข้ามาร่วม จัดการศึกษาของสถานศึกษา

คำอธิบาย

สถานศึกษามีภาคีเครือข่าย ได้แก่ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมถึงสถานศึกษาอื่น เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

 

ที่มา:

ประกาศคณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา เรื่อง กรอบแนวทางการประกันคุณภาพภายนอกสถานศึกษา การศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และด้านการอาชีวศึกษา ฉบับลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!