fbpx
Digital Learning Classroom
ObecContentCenterสื่อการสอน

แนวทางการพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ประเภทผู้สร้าง

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ผู้สร้างสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

คุณสมบัติประเภทผู้สร้างสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

  • ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ หรือ บุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผลิตและสร้างสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่เผยแพร่ในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)
  • สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งเข้ารับการคัดเลือกผลงานต้องอยู่ในระบบ คลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)

รางวัลประเภทผู้สร้างสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล

1) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับเกียรติบัตร ตามลำดับคะแนน

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับเกียรติบัตร ตามลำดับคะแนน

ระดับดีเยี่ยม หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 90.00 ขึ้นไป

ระดับดีมาก หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 80.00 – 89.99

ระดับดี หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 70.00 – 79.99

ระดับเข้าร่วม หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 50.00 – 69.99

หลังจากนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คัดเลือกผู้ที่ได้รับรางวัลดีเยี่ยม ลำดับที่ 1 เพื่อเข้าร่วมการคัดเลือกในระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2) ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้รับรางวัลดีเยี่ยมลำดับที่ 1 ของแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้รับเกียรติบัตรตามลำดับคะแนน

โล่ยอดเยี่ยม หมายถึง มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 90.00 ขึ้นไป และมีคะแนนรวมสูงสุด 18 คนแรกจากผู้เข้ารับการคัดเลือกจากทั้งหมด

ระดับทอง หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 90.00 ขึ้นไป

ระดับเงิน หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 80.00 – 89.99

ระดับทองแดง หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 70.00 – 79.99

ระดับชมเชย หมายถึง มีผลคะแนนคิดเป็นร้อยละ 50.00 – 69.99

การออกแบบการเรียนรู้ตามรูปแบบแอดดี (ADDIE Model)

การวิเคราะห์  A: Analysis

– วิเคราะห์ผู้เรียน (Learners Analysis)

– วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

– การวิเคราะห์รูปแบบ และวิธีการประเมินผล (Assessment Methodology Analysis)

การออกแบบ D: Design

– การกำหนดเป้าหมาย จุดประสงค์ที่สามารถสังเกตได้วัดได้

– การจัดลำดับเป้าหมาย และจุดประสงค์ให้ง่ายต่อการเรียนรู้ และการปฏิบัติ

– การวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้และการปฏิบัติ

– การพิจารณากลวิธีการสอนให้เหมาะกับเนื้อหา การจัดกลุ่มการทำกิจกรรม ของผู้เรียนลักษณะต่าง ๆ เช่น กลุ่ม หรือรายบุคคล

– การคัดเลือกสื่อการเรียนรู้การกำหนดเป้าหมาย จุดประสงค์ที่สามารถสังเกตได้วัดได้

– การจัดลำดับเป้าหมายและจุดประสงค์ให้ง่ายต่อการนิเทศ และการปฏิบัติ

– การวางแผนการประเมินผลการนิเทศและการปฏิบัติ

– การพิจารณากลวิธีการนิเทศให้เหมาะกับเนื้อหา การจัดกลุ่มการทำกิจกรรม ของผู้รับการนิเทศในลักษณะต่าง ๆ ในลักษณะกลุ่มและรายบุคคล

– การคัดเลือกสื่อการเรียนรู้

การพัฒนา D: Development

– การสร้างนวัตกรรม / กิจกรรม หรือโปรแกรมการเรียนรู้ตามที่ได้ออกแบบไว้

– การทดสอบ (Try out)นวัตกรรม  / กิจกรรม หรือโปรแกรมการเรียนรู้กับกลุ่มเป้าหมาย

– การปรับปรุงนวัตกรรม / กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนรู้

การนำไปใช้ I: Implementation

– การเผยแพร่นวัตกรรม / กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เช่น การติดตั้ง การจัดอบรมให้ครูรู้วิธีการใช้นวัตกรรม / กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น การให้คำแนะนำและนิเทศการใช้นวัตกรรม / กิจกรรมหรือโปรแกรมการเรียนรู้

– การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนให้ครูยอมรับนวัตกรรม / กิจกรรม หรือโปรแกรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นและนำสื่อไปใช้

การประยุกต์ใช้ในการออกแบบสื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าสู่ระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)

แนวทางการสร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรมเพื่อเผยแพร่ในระบบคลังสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center)

การวิเคราะห์ A: Analysis

• วิเคราะห์ผู้เรียน: ระดับชั้น อายุ เพศ สถานะทางครอบครัว อาชีพ ความต้องการ

• วิเคราะห์เนื้อหา: วิชาอะไร บทไหน กี่หน่วย เน้นเนื้อหา หรือปฏิบัติ หรือทักษะ

• วิเคราะห์เวลา: จำนวนเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้แต่ละหน่วย และทั้งบทเรียน เวลาที่ใช้ในการทำแบบทดสอบ 

การนำไปใช้ I: Implementation

• เนื้อหา: เตรียมเนื้อหา ออกแบบเนื้อหา (ความเข้าใจ ปฏิบัติ หรือทักษะ) และการออกแบบข้อคำถามสำหรับการประเมิน

• กิจกรรมการเรียนการสอน: ขั้นตอนการสอนทั้ง 9 ขั้น กิจกรรมเกมระหว่างนำเสนอเนื้อหา การตอบคำถาม การจับคู่ ฯลฯ

• การออกแบบกราฟิก/ข้อความ/ภาพ/ภาพเคลื่อนไหว/เสียง

• การออกแบบวิธีวัดและเกณฑ์การประเมินผล: แบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน 

การออกแบบ D: Design

• เนื้อหา: เตรียมเนื้อหา ออกแบบเนื้อหา (ความเข้าใจ ปฏิบัติ หรือทักษะ) และการออกแบบข้อคำถามสำหรับการประเมิน

• เตรียมกราฟิก เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว

• พัฒนาแบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน

• พัฒนาโปรแกรม: นำหลักการ เนื้อหา กราฟิก ที่เตรียมไว้มาพัฒนาเป็นบทเรียนต่าง ๆ

การพัฒนา D: Development

• ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน หรือนำไปใช้ในชั้นเรียนจริงเพื่อประเมินบทเรียน 

การประเมิน E: Evaluation

• ประเมินผลบทเรียนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมิน และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งระหว่างเรียนและหลังเรียน 

ดัดแปลงจาก : นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ดร.สุไม บิลไบ, 2557 

ขั้ตอนการดำเนินการพัฒนาตามแนวทางการวิจัย R&D

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!