fbpx
Digital Learning Classroom
DPAวิทยะฐานะ

แนวทางในการจัดเตรียมเอกสาร และหลักฐานร่องรอยเข้าสู่ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA)

แชร์เรื่องนี้

แนวทางในการจัดเตรียมเอกสาร และหลักฐานร่องรอยเข้าสู่ระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal: DPA)

หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน 

1. มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน

2. มีการพัฒนางานตามข้อตกลง PA และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

3. มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 4 ปี

องค์ประกอบในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง

1. การปฏิบัตงานตามมาตราฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2. ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

สิ่งที่ครูต้องแสดงให้เห็นในผลลัพธ์ในการสอนระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal: DPA)

องค์ประกอบการประเมิน

การประเมินด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน คะแนนเต็ม 40 คะแนน แบ่งเป็น 8 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

(1) ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

(2) ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

      (3) ผู้เรียนได้สร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

      (4) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

      (5) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

      (6) ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

      (7) ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

      (8) ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

1) เนื้อหา (content) หรือมโนทัศน์ ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้อง  และตรงตามหลักสูตร 
2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม 
3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบทเรียน 
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเข้าใจบทเรียน 
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) 

ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

1) มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คำถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ 
2) มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ 
3) มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิมไม่เพียงพอ ที่จะเชื่อมโยงกับการ เรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คำถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ 
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิม กับการเรียนรู้ใหม่ 
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) 

ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

1) ออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ อย่างเหมาะสมกับวัย  สภาพ และบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน
2) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย
3) ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือสร้างประสบการณ์ใหม่
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

1) กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน
2) วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย สภาพ  และพัฒนาการของผู้เรียน
3) ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลว ที่เกิดขึ้น
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

1) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2) ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
3) ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์ หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ ของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

1) มีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียน ในระหว่างการเรียนรู้
2) มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถาม แบบทดสอบ  การปฏิบัติ ฯลฯ
3) มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้จากข้อมูลสะท้อนกลับของครู
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

1) ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน
2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง
3) ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย และกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบ จากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนา การเรียนรู้ของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถ กำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

1) ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ
2) ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียน
3) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่อง เพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน
4) แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาในการกำกับการเรียนรู้ และการเรียนรู้ แบบนำตนเองของผู้เรียน
5) แสดงให้เห็นถึงผลการแก้ปัญหาที่ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน)

 

การประเมินด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนนเต็ม 20 คะแนน แบ่งเป็น 4 ตัวบ่งชี้ ดังนี้

(1) ผลงานหรือผลการปฏิบัติเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู

(2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

(3) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

(4) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – function Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 1 ผลงานหรือผลการปฏิบัติเปนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนรู้ของครู

1) เป็นไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในแผนการจัดการเรียนรู้
2) เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของผู้เรียน
3) สอดคล้องกับสภาพและบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน
4) เกิดจากตัวผู้เรียนรายบุคคลหรือกลุ่มผู้เรียน ไม่ใช่ผลงานหรือผลการปฏิบัติของครู
5) เหมาะสม คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน

ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ
2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ
3) ทักษะการใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการเรียน หรือการฝึก
4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ
5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน

ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนความสามารถ ในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ
2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม
3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ
4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ
5) กระบวนการคิดเชิงระบบ

ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – functional Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน

1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเองการทดลองปฏิบัติ  การนำเสนอความคิด
2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น
3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากร การจัดการทีมทำงาน
4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะ ทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้
5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลาย
การแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อน หลายระดับ

ตัวอย่างการเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอมี หรือเลื่อนวิทยฐานะในระบบประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal: DPA)

แบบฟอร์ม PA3 (PDF)
https://drive.google.com/drive/folders/1HvOBTSUS4ZX5lYIkXIJAR7TCpJ-5wnUa

บันทึกข้อความนำเข้าระบบ DPA
https://docs.google.com/file/d/1FS8AbuCg14AyCnZPSEdI5tRifBV2d1Bw/edit?usp=docslist_api&filetype=msword

แบบคำขอมี/ขอเลื่อนวิทยฐานะ
https://docs.google.com/file/d/1VtGduGPiSHnbGabO7J5JPlmGjKYbCgKh/edit?usp=docslist_api&filetype=msword

แบบสรุปผลการประเมิน (ว17 และ ว21)
https://drive.google.com/drive/folders/13yV0upRvz4Nps95DYrCBBqYRuik-K54H

แผนการสอน (PDF.) ยึดตามเกณฑ์ PA4
https://drive.google.com/drive/folders/1-4nOlcxEwl5YitM142-jerP_7nWKvGi9

แบบฟอร์ม PA4
https://drive.google.com/drive/folders/1VbG3ZQXTfiUCy3NcvAnoSNgwSgTujtND

หลักเกณฑ์ PA4
https://drive.google.com/file/d/1LpP0bGCQkzzXDOhc2UsGuAGR_K1asdbO/view?usp=drivesdk

แบบประเมิน/ตรวจสอบตนเอง ตาม PA4
https://drive.google.com/drive/folders/1-25vRvRIUyS4kzlLy-mV7yu_seihIsJ_

คลิปการสอน (MP4) ไม่เกิน 60 นาที
https://drive.google.com/drive/folders/1-I5Lf0W9libMg_8kCt8bB2AcSNc4ItrK

คลิปสภาพปัญหา ที่มา แรงบันดาลใจ (MP4) ไม่เกิน 10 นาที
https://drive.google.com/drive/folders/1j9SD1aX5n4cO3bgnICZG7mjfGvBZrONI

ผลลัพธ์การเรียนรู้ผู้เรียน ไม่เกิน 3 ไฟล์
https://drive.google.com/drive/folders/1DYrXAH43FeKuf2Xf9GhtHutmRuybY5sO

ขอบคุณข้อมูลและ Link ข้อมูลตัวอย่างจากครูสดใส ใจตรง ครับ

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!