fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยากรศึกษานิเทศก์

แนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศการศึกษาแบบ Hybrid Educational Super Vision เพื่อชุมชนการเรียนรู้

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศการศึกษาแบบ Hybrid Educational Super Vision เพื่อชุมชนการเรียนรู้ เมื่อหลังวิกฤต Covid-19 ผู้รับการนิเทศจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เราในฐานะศึกษานิเทศก์ควร….ปรับตัวอย่างไร

แนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศการศึกษาแบบ Hybrid Educational Super Vision เพื่อชุมชนการเรียนรู้ เมื่อหลังวิกฤต Covid-19 ผู้รับการนิเทศจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
เราในฐานะศึกษานิเทศก์ควร….ปรับตัวอย่างไรเมื่อ
เทคโนโลยีดิจิทัลเปลี่ยน
ข้อมูลครู และนักเรียนเป็นรายบุคคลเปลี่ยน
การพัฒนาด้วยระบบ Online เราทำได้หรือยัง
ดังนั้น…การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment) ที่หมายถึง
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางกายภาพ (Physical Learning Environment)
คือ…การเรียนรู้ในชั้นเรียนปกติ หรือ สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวผู้เรียนที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเสมือนจริง (Virtual Learning Environment)
คือ..ความสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพิ่มแรงจูงใจ การเข้าถึงรูปแบบการเรียนรู้ โอกาสที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างอิสระ บูรณาการข้อมูลและเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศได้ดี เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองได้

___
ศึกษานิเทศก์จึงควร…ต้องทราบว่า
การนิเทศต่างเวลา (Asynchronous Coaching & Mentoring)
เหมาะกับ…การนิเทศแบบเสริม และผู้สอนเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Self Learning)
โดย…เรียนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลได้ตามต้องการ
ผู้สอน…มีปฏิสัมพันธ์กับผู้นิเทศเวลาใดก็ได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Google Classroom เป็นต้น
__
การนิเทศในเวลา (Synchronous Coaching & Mentoring)
เป็น…การนิเทศเสมือนหนึ่งว่าผู้นิเทศอยู่ในห้องเรียน
และ…ผู้สอนกระจายทั่วไป
โดย…ผู้สอนแต่ละคนจะมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
หรือโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
และ…เข้าสอนในชั้นเรียนวิชาตามที่นัดหมาย
ผู้นิเทศ…ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้ผู้สอน เช่น Zoom, Google Meet
___
การนิเทศแบบร่วมมือกัน(Collaborative Supervision)
คือ…การนิเทศแบบนี้จะมีการร่วมมือกันระหว่างผู้เนิเทศ และผู้สอน
จะ…มีชอฟเวร์เฉพาะบุคคลที่ทุกคนสามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น Google Workspace, Office 365
ที่…ทำงานเสมือนจริงเพื่อให้ผู้นิเทศ และผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันได้
___
ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ หรือการนิเทศ แบบไฮบริดเลิร์นนิ่งให้เวิร์ค (Hybrid Learning Guidelines) จึงควรคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (Learning Environment)
ชุมชนการเรียนรู้ (Class Community)
การออกแบบบทเรียน (Lesson Design)
การมีส่วนร่วม และการโต้ตอบ (Engagement and Interactivity)
การประเมิน และผลป้อนกลับ (Assessment and Feedback)
___
วันนี้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะศึกษานิเทศก์จากทั่วประเทศในทุกภาค ในหัวข้อ
แนวทางการสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศการศึกษาแบบ Hybrid Educational Super Vision เพื่อชุมชนการเรียนรู้
ยินดีมากๆ ที่ได้มาพบกันครับ

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 4 คน
อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความ

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!