fbpx
Digital Learning Classroom
วิทยะฐานะ

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)

แชร์เรื่องนี้

แนวทางการเขียนข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)

ตัวอย่างแนวทางการเขียนแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) (หัวข้อนี้สำหรับผู้ที่ต้องการคงวิทยฐานะ และเลื่อนเงินเดือน) โดเน้นแนวทางการเขียนให้เป็นครู B ที่หมายถึง ครูที่ตั้งใจที่จะมีงานที่ตอบทั้งตัวชี้วัด และประเด็นท้าทาย รูปแบบที่นำเสนอนี้ เหมาะสำหรับครูทุกท่าน ที่ต้องการให้ถูกใจผู้บริหาร และถูกใจตัวเอง แนวทางนี้ท่านทำงานแบบไม่หนักจนเกินไปครับ เพราะเป้นงานที่ทำประจำอยู่แล้ว ท่านสามารถแก้ไขกิจกรรมได้ตามต้องการครับ

ผู้จัดทำข้อตกลง

ชื่อ นายอนุศร             นามสกุล          หงษ์ขุนทด ตำแหน่งครู

สถานศึกษา โรงเรียนตัวอย่าง      สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 1        อัตราเงินเดือน 24,000 บาท

ประเภทห้องเรียนที่จัดการเรียนรู้ (สามารถระบุได้มากกว่า 1 ประเภทห้องเรียน ตามสภาพการจัดการเรียนรู้จริง)

þ  ห้องเรียนวิชาสามัญหรือวิชาพื้นฐาน

¨  ห้องเรียนปฐมวัย

¨  ห้องเรียนการศึกษาพิเศษ

¨  ห้องเรียนสายวิชาชีพ

¨  ห้องเรียนการศึกษานอกระบบ / ตามอัธยาศัย

ข้าพเจ้าขอแสดงเจตจำนงในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน ตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)ซึ่งเป็นตำแหน่ง ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันกับผู้อำนวยการสถานศึกษา ไว้ดังต่อไปนี้

ส่วนที่  1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564

  1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 21.76 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

รายวิชา วิทยาศาสตร์ 4                           จำนวน  12.5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุม                                      จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ยุวกาชาด                                  จำนวน  0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้           จำนวน  2.5 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน  1.7 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                     จำนวน  3.4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2565

  1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 21.76 ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

รายวิชา วิทยาศาสตร์ 3                           จำนวน 12.5 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ชุมนุม                                      จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

รายวิชา ยุวกาชาด                                  จำนวน 0.83 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้           จำนวน 2.5  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 1.7  ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น                     จำนวน 3.4  ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้าน ว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้)

ลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง

1. ด้านการจัดการเรียนรู้ ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตรการออกแบบการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การสร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม  เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้  การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้  การศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์  เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้  การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน และการอบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

งาน (Tasks)

1.1 การสร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร

– จัดทำรายวิชา…..ชั้น………..และหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะและการเรียนรู้ เต็มตามศักยภาพ โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

1.2 ออกแบบการจัดการเรียนรู้

– ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน……..หน่วย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะประจำวิชา คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในวิชา……………… ตามหลักสูตร และนำมาปรับประยุกต์เพื่อแก้ไขปัญหา………. ……(ประเด็นท้าทายของครู) ในหน่วยที่……..เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ผู้เรียน และท้องถิ่น

1.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้

– จัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชา…..ชั้น………..โดยเน้นการอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ และส่งเสริมผู้เรียน ให้เกิดการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนด้วยวิธีการ…………………………….. ……(ประเด็นท้าทายของครู). เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ เรียนรู้และทำงานร่วมกัน โดยจัดให้มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ…………..โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน

1.4 การสร้างและหรือพัฒนาสื่อนวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้

– สร้างและพัฒนาสื่อ……………..(Google Classroom) โดยมีการปรับประยุกต์ให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียน และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ สอดคล้องกับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้รายวิชา…..ชั้น……….. และสามารถแก้ปัญหา……………ในการเรียนรู้ของผู้เรียนหน่วยการเรียนรู้ที่………………………..ได้

1.5 วัดและประเมินผลการเรียนรู้

– มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายเช่น

1) พัฒนาเครื่องมือวัด

1.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (กลางภาค/ปลายภาค)

1.2 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ประจำหน่วยการเรียนรู้

2) พัฒนาเครื่องมือประเมิน ดังนี้

2.1 แบบประเมินทักษะ……………….

2.2 แบบประเมินทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ และเขียน

2.2 แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.3 แบบประเมินสมรรถนะ

2.4 แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

3) ทำการวัดและประเมินผลให้ผู้เรียนได้รับพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง และนำผลการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในหน่วยที่…………เพื่อแก้ไขปัญหา………การจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้เรื่อง……….หรือหน่วย……….หรือทั้งวิชา…………ให้ผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล

1.6 ศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้

– มีการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา………………หน่วยการเรียนรู้ที่………………

1.7 การจัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน

– มีการจัดบรรยากาศที่เหมาะสม สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนรายบุคคลสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนรู้เรื่อง…………… และสร้างแรงบันดาลใจด้วยวิธีการ…………… ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้เกิดกระบวนการคิด ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และนวัตกรรมด้วยวิธีการจัด……………

– จัดบรรยากาศห้องเรียนให้ได้มาตรฐานห้องเรียนคุณภาพ (Onsite) เช่น………..

– จัดกระบวนการเรียนรู้ (Online) ดังนี้………………………

1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของผู้เรียน

– มีการอบรมรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์

+ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น โรงเรียนวิถีพุทธ

ผลลัพธ์ (Outcomes) ของงานตามข้อตกลง ที่คาดหวังให้เกิดขึ้น กับผู้เรียน (โปรดระบุ)

ตัวชี้วัด (Indicators) ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน ที่แสดงให้เห็นถึงการ เปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนา มากขึ้นหรือผลสัมฤทธิ์ สูงขึ้น (โปรดระบุ)

ผลลัพธ์ (Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
2) ผู้เรียนมีทักษะตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
3) ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
4) ผู้เรียนมีสมรรถนะตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
5) ผู้เรียนมีทักษะการอ่านการเขียนตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษากำหนด              
1) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ……..มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
2) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ……..มีทักษะตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
3) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ……..ผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
4) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ……..มีสมรรถนะตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
5) ผู้เรียนร้อยละ ….มีทักษะการอ่านการเขียนตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษากำหนด          

2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชาการดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน การปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่น ๆ ของสถานศึกษาและการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ

2.1 การจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา

   ข้าพเจ้าจะจัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน และรายวิชา……….. ตามมาตรฐานชั้นเรียนที่กำหนด ดังนี้

  1. จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียน เช่น ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน, เอกสารวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล, เอกสารการโฮมรูม, เอกสารการทำความดี, เอกสารการจัดบอร์ด, ข้อตกลงในห้องเรียน, บอร์ดผลงานผู้เรียน, เอกสารการสอนเสริมเอกสารการศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
  2.  จัดทำข้อมูลสารสนเทศของรายวิชาดังนี้

– แบบ ปพ.5 , ปพ.6

– แบบบันทึกกิจกรรมโฮมรูม

– แบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์

– แบบบันทึกการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน

– แบบประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

– แบบบันทึกการสอนซ่อมเสริมนักเรียน

– แบบบันทึกการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกโรงเรียน

– แบบบันทึกการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล

– แบบบันทึกผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 และเอกสารรายงาน งานตามที่ได้รับมอบหมายเป็นที่ปรึกษาและให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพในการแก้ไขปัญหา……..

2.2 การดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

ข้าพเจ้าจะใช้ข้อสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนรายบุคคลของนักเรียนในรายวิชา…………ดังนี้

1…………………………

2…………………………

3…………………………

และประสานความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยวิธีการ………..เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหา…………..ของผู้เรียน

2.3 การปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่น ๆ ของสถานศึกษา

ข้าพเจ้าจะร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการและงานอื่น ๆ เช่น

1…………

2…………ของสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่ายและหรือสถานประกอบการ

ข้าพเจ้าจะประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา………….. (ประเด็นท้าทายของครู)และพัฒนาผู้เรียน เช่น      

– การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

– ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนา ผู้เรียน

– ร่วมกิจกรรมประชุมผู้ปกครอง 1 ครั้ง/ภาคเรียน

– จัดให้มีช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองและภาคีเครือข่าย เป็นต้น

ผลลัพธ์ (Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
1) นักเรียนได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือดูแลทั้งด้านวิชาการและส่งเสริมลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์รวมทั้งทักษะและสมรรถนะสำคัญผู้เรียน
2) นักเรียนได้รับการแก้ไขหรือพัฒนาทั้งด้านวิชาการ ลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์รวมทั้งทักษะ และสมรรถนะสำคัญผู้เรียน
3) นักเรียนได้รับการแก้ไขปัญหา…………….. (ประเด็นท้าทายของครู)        
1) ผู้เรียนไม่เกินร้อยละ 3   มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ไม่พึงประสงค์  (เกรด 0, มผ. , มส.)
2) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ……………… มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา………..ไม่น้อยกว่าคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ…………….ตามค่าเป้าหมายสถานศึกษา
3) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ………….. ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรในระดับดีขึ้นไป
4) ผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ………….. ผ่านเกณฑ์การประเมินทักษะ และสมรรถนะสำคัญผู้เรียนในระดับ……….ขึ้นไป
5) นักเรียนร้อยละ …………..ได้รับการแก้ไขปัญหา…………….. (ประเด็นท้าทายของครู)  

3. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึง การพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง การมีส่วนร่วม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และการนำความรู้ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเอง และวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้

3.1 การพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

   ข้าพเจ้าจะพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาสมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน โดยจัดทำแผนพัฒนาตนเองรายบุคคล (ID PLAN) ปีงบประมาณ ……. พัฒนาตนเองด้วยรูปแบบวิธีการที่หลากหลายโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะวิชาชีพครูและความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน และนำผลการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่มีผลต่อคุณภาพผู้เรียน เช่น

   1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสมผสานเชิงรุก

   2) พัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

   3) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมใน การจัดการเรียนรู้ รวมถึง

  – พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทย

  – พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ

  – พัฒนาการใช้เทคโนโลยี

3.2 การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ (ชื่อกลุ่ม)……..  เพื่อแก้ไขปัญหา……..และพัฒนาการจัดการเรียนรู้

3.3 การนำความรู้ความสามารถทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

ข้าพเจ้าจะ นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อแก้ไขปัญหา…….. (ประเด็นท้าทายของครู)  ของผู้เรียน

 

 

ผลลัพธ์ (Outcomes)ตัวชี้วัด (Indicators)
1. นักเรียนได้รับการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาในด้านการเรียนรู้จำนวน…….หน่วย (หรือในหน่วยที่…………)
2. นักเรียนได้รับการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาทักษะ……..
3. นักเรียนได้รับการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4. นักเรียนได้รับการการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาด้านสมรรถนะสำคัญผู้เรียน    
1. นักเรียนร้อยละ ………………ได้รับการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาในด้านการเรียนรู้จำนวน…….หน่วย(หรือในหน่วยที่…………) ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
2. นักเรียนร้อยละ ………………ได้รับการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาทักษะ……..ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
3. นักเรียนร้อยละ ………………ได้รับการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา
4. นักเรียนร้อยละ ………………ได้รับการการแก้ปัญหา…………….หรือพัฒนาด้านสมรรถนะสำคัญผู้เรียนตามค่าเป้าหมายของสถานศึกษา    

หมายเหตุ

1. รูปแบบการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบ PA1 ให้เป็นไปตามบริบทและสภาพการจัดการเรียนรู้ของแต่ละสถานศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการสถานศึกษาและข้าราชการครูผู้จัดทำข้อตกลง

2. งาน (Tasks) ที่เสนอเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ต้องเป็นงานในหน้าที่ความรับผิดชอบหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และให้นำเสนอรายวิชาหลักที่ทำการสอน โดยเสนอในภาพรวมของรายวิชาหลักที่ทำการสอนทุกระดับชั้น ในกรณีที่สอนหลายรายวิชา สามารถเลือกรายวิชาใดวิชาหนึ่งได้โดยจะต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง และคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงสามารถประเมินได้ตามแบบการประเมิน PA 2

3. การพัฒนางานตามข้อตกลง ตามแบบ PA 1 ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Outcomes)และตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรม และการประเมินของคณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ให้คณะกรรมการดำเนินการประเมิน ตามแบบ PA 2 จากการปฏิบัติงานจริง สภาพการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการพัฒนางานตามข้อตกลงเป็นสำคัญ โดยไม่เน้นการประเมินจากเอกสาร

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น(ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

                    ประเด็นท้าทาย เช่น เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้…………………….ของนักเรียนชั้น…………….. ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs)

** หัวข้อนี้สำหรับผู้ที่ต้องการคงวิทยฐานะ และเลื่อนเงินเดือนครับ

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บางคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีผลการเรียนต่ำกว่าที่สถานศึกษากำหนดไว้ เพื่อให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่กำหนดจึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนเห็นว่าการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมต่อผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะดังกล่าวคือ การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) หรือที่เรียกว่า กระบวนทัศน์บันได 5 ขั้น (QSCCS) โดยมีลำดับขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นการเรียนรู้ระบุคำถาม 2) ขั้นการเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ 3) ขั้นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ 4) ขั้นเรียนรู้เพื่อสื่อสาร และ 5) ขั้นเรียนรู้เพื่อตอบแทน ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีทักษะในการค้นคว้าแสวงหาความรู้ และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น และสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล ตลอดจนมีทักษะชีวิตในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จึงนำมาเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่จะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนตัวอย่าง  เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่จะใช้ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

2.2 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs)  

2.3 ดำเนินการจัดทำแผนการเรียนรู้และจัดทำเอกสารประกอบการเรียนเรื่อง ………………….. เพื่อใช้ประกอบการเรียน จัดทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่อง การแยกสาร เพื่อใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และจัดทำแบบสังเกต แบบประเมินทักษะกระบวนการ ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

2.4 ส่งแผนการการเรียนรู้แบบ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

2.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ

2.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขไปใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน  

2.7 ครูผู้สอนนำชุดแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมการทดลอง แบบฝึกทักษะ เอกสารประกอบการเรียน ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนระดับชั้น……….. ที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้

2.8 นำเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง ……………..ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กับนักเรียนระดับชั้น…………… ทั้งในรูปแบบ ONLINE หรือ ONSITE โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท

2.9 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง………………….. บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน ที่เกิดขึ้นจากการกิจกรรมการเรียนรู้ ในรูปแบบข้อมูลสารสนเทศ หากมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ให้จัดกิจกรรมซ่อมเสริมช่วงหลังเลิกเรียน และทำการทดสอบใหม่ จนนักเรียนมีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

  1. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

  3.1 เชิงปริมาณ

นักเรียนระดับชั้น……………… จำนวน ………… ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด …………….คน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง……………… ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ ………. ของคะแนนเต็ม) คิดเป็นร้อยละ…………… ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

 3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้น………… จำนวน ………… ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด…….. คน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่อง……………. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งปรับประยุกต์ใช้กับวิชาอื่น ๆ ได้

Comments

comments

Powered by Facebook Comments

ติดต่อ ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด
error: Content is protected !!